คลิ๊ก..เข้าห้องสอบ...สมรรถนะ..การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่
http://www.tuewsob.com/competency%20v1%20test%202.html
การมุ่งผลสัมฤทธิ์
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ แบบ ก.ค.ศ. มี 4 ระดับ อ่านทั้งหมดได้ที่
https://drive.google.com/file/d/0ByeVwALb1yssLU9raVkzVS1TMkU/edit?usp=sharing
แบบ ก.พ. มี 5 ระดับ ดังนี้
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement motivation – ACH)
1 ใน 5 ของสมรรถนะหลักและเป็นตัวแรกของสมรรถนะหลักสำหรับคำจำกัดความของคำว่า “การมุ่งผลสัมฤทธิ์” นั้น หมายถึง ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติราชการให้ดีหรือให้เกินมาตรฐานที่มีอยู่ โดยมาตรฐานนี้อาจเป็นผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตนเอง หรือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นอีกทั้งยังหมายรวมถึงการสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ยากหรือท้าทายชนิดที่อาจไม่เคยมีผู้ใดสามารถกระทำได้มาก่อน
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การพยายามปรับปรุงงาน การทำงานได้ตามเป้าหมาย การทำงานได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และการทำงานที่ยากท้าทายซึ่งอาจไม่เคยมีใครทำมาก่อน สำหรับคำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายคลึงกับการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การเน้นที่ผลลัพธ์ การเน้นที่ประสิทธิผล การใส่ใจกับมาตรฐาน การเน้นการปรับปรุงงาน ความเป็นผู้ประกอบการ การใช้ทรัพยากรอย่างสูงสุด
การมุ่งผลสัมฤทธิ์พิจารณาได้จาก 3 มิติ คือ
ความสมบูรณ์ของการทำกิจกรรมในงาน
ผลกระทบของผลสำเร็จในงานว่าเกี่ยวกับระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือระดับหน่วยงาน
ระดับของนวัตกรรมที่สร้าง เช่น เป็นสิ่งใหม่ต่อหน่วยงาน ต่อส่วนราชการ หรือต่อวิชาชีพ
สมรรถนะในแต่ละด้านแม้ว่าจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากสมรรถนะอื่น ๆ แต่ว่าก็ยังมีความคาบเกี่ยวกันอยู่บ้าง สมรรถนะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การคิดริเริ่ม (Initiative) การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking) การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking) และความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Flexibility) ความเกี่ยวข้องที่ว่านี้ อาจจะเกี่ยวข้องในแง่ที่ว่าบุคคลจะแสดงพฤติกรรมการมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้ก็มักจะมีความคิดริเริ่ม การสืบเสาะหาข้อมูล การคิดวิเคราะห์ การมองภาพองค์รวมและความยืดหยุ่นผ่อนปรน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมด้วย
ระดับ 0 ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้ หรือแสดงอย่างไม่ชัดเจน
ระดับ 1 แสดงความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ดี เช่น
พยายามทำงานในหน้าที่ให้ถูกต้อง
พยายามปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
มานะอดทน ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
แสดงออกว่าต้องการทำงานให้ได้ดีขึ้น เช่น ถามถึงวิธีการหรือขอคำแนะนำอย่างกระตือรือร้น
แสดงความเห็นในเชิงปรับปรุงพัฒนาเมื่อเห็นความสูญเปล่าหรือหย่อนประสิทธิภาพในงาน
ระดับ 2 แสดงสมรรถนะที่ 1 และสามารถทำงานได้ผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น
กำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี
ติดตามและประเมินผลงานของตนโดยเทียบเคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน
ทำงานได้ตามเป้าหมายที่ผู้บังคับบัญชากำหนดหรือเป้าหมายของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
มีความละเอียดรอบคอบ เอาใจใส่ ตรวจตราความถูกต้องเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ
ระดับ 3 แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และสามารถปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น
ปรับปรุงวิธีการที่ทำให้งานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจมากขึ้น
เสนอหรือทดลองวิธีการทำงานแบบใหม่ที่คาดว่าจะทำให้งานมีประสิทธิภามากกว่าเดิม
ระดับ 4 แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และสามารถกำหนดเป้าหมาย รวมทั้งพัฒนาวิธีการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่น หรือแตกต่างอย่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน เช่น
กำหนดเป้าหมายที่ท้าทายและเป็นไปได้ยาก เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด
พัฒนาระบบ ขั้นตอน วิธีการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่น หรือแตกต่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
ระดับ 5 แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และกล้าตัดสินใจ แม้ว่าการตัดสินใจนั้นจะมีความเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานหรือส่วนราชการ เช่น
ตัดสินใจได้ โดยมีการคำนวณผลได้ผลเสียอย่างชัดเจน และดำเนินการเพื่อให้ภาครัฐและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
บริหารจัดการและทุ่มเทเวลา ตลอดจนทรัพยากร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของหน่วยงานตามที่วางแผนไว้
สรุป : การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสมัยก่อนจะเป็นการทำงานที่ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติให้แล้วเสร็จไปวัน ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่สามารถวัดออกมาเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนได้...มา ณ ปัจจุบัน ภาครัฐได้นำเรื่องสมรรถนะเข้ามาแบ่งวัดระดับของสมรรถนะในการทำงาน จึงทำให้เห็นเป็นขั้นตอนหรือเป็นรูปร่างมากขึ้นกว่าสมัยก่อน เพราะระดับจะเป็นการแบ่งให้กับผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติ เช่นระดับปฏิบัติการ ควรมีสมรรถนะอยู่ในระดับใด ระดับผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับสูงควรมีสมรรถนะอยู่ในระดับใด...ถ้าผู้ปฏิบัติงานคนใดมีสมรรถนะต่ำก็ต้องรีบเร่งที่จะพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น เพราะในสมัยก่อนทำให้ภาครัฐไม่สามารถที่จะพัฒนาบุคลากรในส่วนราชการได้อย่างเป็นรูปธรรมได้เลย เพราะไม่มีเครื่องมือในการแยกแยะความสามารถได้...การพัฒนาในสมัยก่อนก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลของคน ๆ นั่นเองที่จะขวนขวายเพื่อศึกษาและพัฒนาตนเองให้มีความรู้มากขึ้น...
สำหรับผู้ปฏิบัติงานคนใดที่มีสมรรถนะที่สูงกว่ามาตรฐาน นั่นก็แสดงว่า องค์กรหรือส่วนราชการนั้น ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถอยู่ในองค์กร และเป็นหน้าตาของส่วนราชการนั้นที่มีผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความสามารถและช่วยพัฒนาองค์กรหรือส่วนราชการนั้นให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพยิ่งขึ้น...
นับได้ว่า ในสมัยก่อนการวัดความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนนั้นทำได้ค่อนข้างยาก...ส่วนมากจะวัดจากใบปริญญาบัตรและใบประกาศต่าง ๆ ที่ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง แต่...ประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละบุคคลนั้นไม่สามารถบอกคนอื่นได้ นอกจากผลงานของคน ๆ นั้น...ดังนั้น สมรรถนะ จึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการที่จะนำมาเป็นเครื่องวัดความสามารถของบุคลากรนั่นเอง...
ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
(Result Based
Management - RBM)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ 5) พ.ศ.
2545
มาตรา 3/1 “ การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ
ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมี
ผู้รับผิดชอบต่อผลงาน....
ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ
ต้องใช้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน
การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ”
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่
5) พ.ศ.2545
มาตรา 3/1 ที่กล่าวมาแล้ว
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542
เห็นชอบต่อแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐซึ่งกำหนดให้มีการปฏิรูปราชการด้วยแผนงานหลัก 5 แผน คือ
1.
แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานภาครัฐ
2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงินและการพัสดุ
3. แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล
4. แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงินและการพัสดุ
3. แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล
4. แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นกิจกรรมสำคัญของแผนการปรับเปลี่ยนบทบาท
ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งกำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทาง
การบริหารไปสู่การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือการบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่
(New
Public Management)
ที่ต้องคำนึงถึงประชาชนและผลสัมฤทธิ์ของงาน
เพื่อให้การทำงานของภาครัฐมุ่งเน้นผลลัพธ์ของงานมากกว่าเน้นปัจจัยนำเข้ากระบวนการทำงานและกฎระเบียบที่เคร่งครัด
โดยจะมีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ความสำคัญกับการกำหนดวิสัยทัศน์
พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน และการกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน รวมถึงมีการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ชัดเจนในการวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความรับผิดชอบต่อประชาชน และเกิดความคุ้มค่าในการใช้ภาษีของประชาชนและงบประมาณแผ่นดิน
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความรับผิดชอบต่อประชาชน และเกิดความคุ้มค่าในการใช้ภาษีของประชาชนและงบประมาณแผ่นดิน
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ
วิธีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก
โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้ผู้บริหารทราบผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานเป็นระยะ
ๆ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีเป็นการควบคุมทิศทาง
การดำเนินงานให้มุ่งสู่วิสัยทัศน์ฯ ของหน่วยงาน
การดำเนินงานให้มุ่งสู่วิสัยทัศน์ฯ ของหน่วยงาน
ผลสัมฤทธิ์ (Results)
= ผลผลิต (Outputs) + ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผลผลิต (Outputs) หมายถึง งาน
บริการ หรือกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ทำเสร็จสมบูรณ์พร้อมส่งมอบให้ประชาชนผู้รับบริการ
ผลผลิตเป็นผลงานที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโดยตรง
ผลลัพธ์ (Outcomes) หมายถึง
ผลที่เกิดขึ้นตามมา ผลกระทบ หรือเงื่อนไขที่เกิดจากผลผลิต
ผลลัพธ์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนผู้รับบริการ และสาธารณชน
ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ คือ งาน บริการ
หรือกิจกรรมที่เกิดจากการทำงานได้ผลผลิต (Outputs) ตาม
เป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ (Outcomes) ตรงตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ผลผลิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงหรือเป็นที่พึงพอใจ เช่น ปลูกบ้านได้ 1 หลัง (Outputs) บ้านหลังดังกล่าวน่าอยู่ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก (Outcomes) หรือ การซ่อมถนนได้ 5 กิโลเมตร เป็น ผลผลิต (Outputs) ถนนสายนั้นทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางจากการซ่อมแซม เป็น ผลลัพธ์ (Outcomes)
วัตถุประสงค์ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ (Outcomes) ตรงตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ผลผลิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงหรือเป็นที่พึงพอใจ เช่น ปลูกบ้านได้ 1 หลัง (Outputs) บ้านหลังดังกล่าวน่าอยู่ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก (Outcomes) หรือ การซ่อมถนนได้ 5 กิโลเมตร เป็น ผลผลิต (Outputs) ถนนสายนั้นทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางจากการซ่อมแซม เป็น ผลลัพธ์ (Outcomes)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กร ช่วยให้การบริหารการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม มีทิศทางในการปฏิบัติงาน มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ ทำให้ทราบผลการปฏิบัติงานเมื่อเทียบกับแผนหรือเป้าหมาย สามารถรายงานความก้าวหน้าผลการปฏิบัติงานต่อ
ผู้บริหาร และ ทำให้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที หากผลการปฏิบัติงานไม่น่าพึงพอใจ ผู้บริหารมีโอกาสปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันที
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการบริหาร (PDCA) ได้แก่
Plan มีวัตถุประสงค์ หรือ
เป้าหมายที่ชัดเจน (ต้องการทราบว่าผลสัมฤทธิ์คืออะไร)
Do มีการปฏิบัติงานที่มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแผนที่วางไว้หรือไม่
Check มีการตรวจสอบว่าปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้หรือไม่
Act ปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามแผนที่วางไว้
ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ องค์กรใช้วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ซึ่งอยู่ในแผนกลยุทธ์ขององค์กรเป็นกรอบในการกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (CSF) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือช่วยประเมินความสำเร็จของการดำเนินการตามกลยุทธ์ องค์กรที่มีการบริหารเชิงกลยุทธ์สามารถใช้ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ(CSF) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นกรอบวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรเทียบกับเป้าหมาย เพื่อให้รู้ถึงความก้าวหน้าของการบรรลุวิสัยทัศน์ หากผลงานยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ผู้บริหารองค์กรควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสม
การเชื่อมโยงกลยุทธ์สู่การวัดผลการปฏิบัติงาน
ปัจจัยที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับส่วนราชการไทยที่จะนำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้
ได้แก่
·
องค์กรมีการจัดทำแผนกลยุทธิ์
ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์การปฏิบัติงาน
·
การให้ความร่วมมือจากผู้บริหารในการกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมของผลการปฏิบัติงาน
·
การมอบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานในระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ชัดเจน
กรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของส่วนราชการ
Balanced Scorecard เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ.1992 โดย Robert
S.Kaplan
David P. Norton จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดผลการปฏิบัติงานระดับองค์กรของ
ภาคเอกชน ใน 4 ด้าน คือ ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายในองค์กร
ด้านองค์กร และ ด้านการเงิน ต่อ
มาได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในหน่วยราชการหลายประเทศ
Balanced หมายถึง
ความสมดุลของจำนวนมุมมองที่ใช้ในการพิจารณาองค์กร เวลากำหนด
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
(CSF)
และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) เพื่อป้องกันความเบี่ยงเบนและช่วย
ให้มีการพิจารณาองค์กรจากทุกมุมมองอย่างครบถ้วน
Scorecard หมายถึง รายงานสรุปผลสัมฤทธิ์ขององค์กร ซึ่งนำมาอยู่ในรายงานสำหรับผู้
บริหารเพื่อให้ผู้บริหารสามารถติดตามความก้าวหน้าของการบรรลุวัถุประสงค์ขององค์กร
สำนักงาน ก.พ.
ได้นำ Balanced Scorecard มาปรับใช้เป็นกรอบแนวทางกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
(CSF) และ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) ซึ่งเป็นกรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของส่วนราชการ โดยการพิจารณาจากมุมมองด้านต่าง ๆ 4 ด้าน
กรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของส่วนราชการในมุมมองด้าน
4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร
(External
Perspective)
เป็นการพิจารณาองค์กรในมุมมองของประชาชนผู้รับบริการ
สาธารณชนทั่วไปที่อยู่ใน
สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร
ผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ต่าง ๆ รัฐบาล หน่วยงานราชการอื่น ๆ รัฐ
วิสาหกิจ
องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ฯลฯ
2. ด้านองค์ประกอบภายในองค์กร
(Internal
Perspective)
เป็นการพิจารณาย้อนกลับไปที่โครงสร้างองค์กร
กระบวนการทำงาน ทรัพยากรมนุษย์
ความสามารถหลักขององค์กร
วัฒนธรรม และค่านิยม
ความรู้ความสามารถของบุคลากร ทักษะ
จริยธรรม ขวัญกำลังใจ
3. ด้านนวัตกรรม
(Innovation
Perspective)
เป็นการพิจารณาความสามารถขององค์กรต่อความเปลี่ยนแปลงเป็นการมองไปในอนาคตว่าองค์กรควรริเริ่มสร้างสรรค์อย่างไร
เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดียิ่งกว่าเดิม เช่น
งานวิจัยที่นำสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง การพัฒนาระบบงาน
การสร้างเครือข่าย ระบบการตรวจค้นข้อมูล ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
4. ด้านการเงิน (Financial
Perspective)
ให้ความสำคัญกับการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
ความคุ้มค่าของเงินงบประมาณ
ที่ใช้
ความสามารถของการให้บริการเทียบกับผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
รวมถึงการป้องกันการทุจริต
และประพฤติมิชอบที่ปรากฏ
อ่านทั้งหมดที่
ผลสัมฤทธิ์ ( Results = ผลผลิต ( Output ) + ผลลัพธ์ ( Outcomes ))
ในอดีตการบริหารของรัฐจะเน้นที่ปัจจัยนำเข้า (Input ) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรต่างๆ ที่รัฐจะนำมาใช้ในการปฎิบัติงาน คือ เงิน คน วัสดุ คุรุภัณฑ์ต่างๆ โดยเน้นการทำงานตามกฎระเบียบ และความถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐาน แต่การบริหารมุ่ผลสัมฤทธิ์ จะเน้นที่ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงาน โดยจะให้ความสำคัญที่การกำหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ของโครงการ /งาน เป้าหมาย ที่ชัดเจน การกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ต้องการของทุกโรงการในองค์กรนั้นให้สอดคล้องเป็นไปในทางเดี่ยวกับภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กร มีการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานหลัก ( KPI ) ไว้อย่างชัดเจนเป็นที่เข้าใจของทุกคนในองค์กร มีการวัดความก้าวหน้าของการปฎิบัติงานโดยใช้ตัวชี้วัดดังกล่าว มีการยืดหยุ่นในการบริหารและสนับสนุนทรัพยากรแก่ผู้บริหารระดับล่างอย่างเหมาะสม มีการประเมินผลการปฎิบัติงาน และให้ค่าตอบแทนตามผลงาน ตลอดจนถึงการปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและตรงความต้องการของลูกค้า (Customer ) คือประชาชนปัจจัยหลักพื้นฐาน : ที่ทำให้การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบความสำเร็จก็คือ การมีระบบข้อมูลที่เที่ยงตรง เชื่อถือได้ไม่ว่าจะเป็นระบบข้อมูล ตัวชี้วัดผลการปฎิบัติงาน เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการปฎิบัติงาน หรือระบบการเงินและบัญชีที่สามารถให้ข้อมูลแยกรายละเอียดโครงการ เพื่อให้ทราบต้นทุน ค่าใช้จ่ายในแต่ละงาน การได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้บริหารทุกระดับตัดสินใจได้อย่างถูกต้องการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ อาจสามารถอธิบายอีกแบบได้ว่า เป็นการจัดหาให้ได้ทรัพยากรการบริหารมาอย่างประหยัด (Economy) การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) และการได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายขององค์การ ( Effectiveness) ความประหยัด ( Economy ) คือการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิต โดยการใช้ปัจจัยนำเข้า (Input ) ซึ่งได้แก่ทรัพยากรในการผลิตด้วยราคาที่ต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สิ่งนี้ถือว่าเป็นหลักสำคัญของนักบริหารที่ดี การไม่ประหยัดจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในกรณีของการมีคนงานมากกว่าปริมาณงาน หรือใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีราคาแพง หรือคุณภาพสูงเกินความจำเป็น
ความมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) คือการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้า ( Input ) กับผลผลิต (Outputs) ได้แก่ การสร้างผลผลิตในระดับที่สูงกว่าปัจจัยนำเข้า ความมีประสิทธิภาพ สามารถวัดได้ โดยการนำปัจจัยนำเข้าจริง หารด้วยผลผลิตจริง หากได้ค่าที่น้อยแสดงว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า การเพิ่มขึ้นของปัจจัยนำเข้า ซึ่ง ( Productivety ) คือการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยนำเข้าคงที่ หรือโดยการประหยัด (Economizing ) คือ รักษาระดับผลผลิตให้คงที่แต่จะลดปัจจัยนำเข้าลงความมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือการเปรียบเทียบระหว่าง วัตถุประสงค์ กับ ผลลัพธ์ ของโครงการซึ่งหมายถึง ระดับของการบรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้าของโครงการนั้นๆ ว่าได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงไร ความมีประสิทธิผล มีความเกี่ยวข้องกับผลผลิตและผลลัพธ์วัตถุประสงค์ ( Objectives ) เป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ของงานที่ต้องการทั้งในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาวปัจจัยนำเข้า ( Input ) ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต การให้บริหารหรือการปฎิบัติงาน เช่น เงินทุน คน อาหาร เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา กฎ ระเบียบ และการรักษาชื่อเสียงขององค์กร เป็นต้นกิจกรรม ( Processes ) กระบวนการทำงาน ได้แก่ การนำปัจจัยนำเข้าทั้งหลายมาผ่านกระบวนการ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตามมาตรฐานคุณภาพที่ได้กำหนดไว้ผลผลิต ( Outputs) คือผลงานหรือผลบริการที่องค์กรผลิตได้ ที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆขององค์กร เช่น การออกใบอนุญาต การออกหนังสือสำคัญ บัตรอนุญาตต่างๆ ข้อเสนอแนะผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา หรือการหางานให้ผู้ว่างงานเป็นต้นผลลัพธ์ ( Outcomes ) คือผลกระทบ ผลต่อเนื่อง ที่เกิดจากผลผลิตหรือผลงานที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้รับบริการ เช่น ผู้รับบริการได้รับใบอนุญาต เป็นผลให้การประกอบอาชีพมั่นคงขึ้นซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลก็ให้พวกเราข้าราชการทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ คำนึงถึงต้นทุน และผลผลิตที่ได้คุ้มค่ากันหรือเปล่าในการลงทุนหรือการทำงาน ทุกคนต้องช่วยกันนะครับ ช่วยชาติประหยัด แล้วเราจะอยู่รอดได้ การทำงานหากเอาใจลงไปทำด้วยทุกอย่างสำเร็จแน่นอน แต่ถ้าขาดกำลังใจท้อถอย ต้องเติมพลังให้ตนเองโดยวิธีต่างๆที่เหมาะสมตามสถานการณ์ก็จะค่อยๆดีขึ้นเองครับเพราะทุกวันนี้มีงานทำก็มีเงินเลี้งดูครอบครัวผมคิดว่านี่แหละคือผืนนาที่เราต้องช่วยกันถางถางงอกงามต่อไป จริงไหมครับ พงษ์ศักดิ์. มุนแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนควารู้ สพท. ขอนแกน เขต 1 [ออนไลน์] 17 ก.ค. 2548 [อ้างเมื่อ 11 พฤศจิกายน 48]. จากhttp://www.kkzone1.go.th/webbkm/webboard.php?page=4
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ แบบ ก.ค.ศ. มี 4 ระดับ อ่านทั้งหมดได้ที่
สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่
"ติวสอบดอทคอม" www.tuewsob.com หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ
สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/
"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น