ข้อสอบ การควบคุมภายใน หน่วยงานย่อย ที่
การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
นิยามศัพท์
การควบคุมภายใน หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับ
ดูแล ฝ่ายบริหาร และบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า
การดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 3 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของหน่วยงาน
ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย
การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยงานรับตรวจ ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานการเงิน
และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรี
ผู้กำกับการดูแล หมายความว่า
บุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล หรือบังคับบัญชาผู้รับตรวจหรือหน่วยรับตรวจ
ผู้รับตรวจ หมายความว่า
หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้บริหารองค์กร
ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ หรือการบริหารของหน่วยรับตรวจ
หน่วยรับตรวจ หมายความว่า
(1)
กระทรวง
ทบวง
กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีฐานะเป็น
กระทรวง ทบวง หรือกรม
(2) หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค
(3) หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น
(4) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือตามกฎหมายอื่น
(5) หน่วยงานอื่นของรัฐ
(6) หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุน
หรือกิจการที่ได้รับเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วย
รับตรวจตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5)
(7) หน่วยงานอื่นใดหรือกิจการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้สำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ
3
ฝ่ายบริหาร
หมายความว่า ผู้รับตรวจ
หรือผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงานรับตรวจ
ผู้ตรวจสอบภายใน หมายความว่า
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานรับตรวจ
หรือดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานรับตรวจ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ
ผู้ตรวจสอบภายใน
รายงานประจำปี หมายความว่า
รายงานการควบคุมภายในที่ผู้รับตรวจต้องรายงานต่อผู้กำกับดูแล
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
โดยมีรายละเอียดประกอบการรายงาน ดังนี้
(1)
ทำความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในหน่วยรับตรวจที่ใช้อยู่มีมาตรฐานตามระเบียบนี้
หรือไม่
(2) รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน ในการ
บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ประกอบด้วย
(ก) สภาพแวดล้อมของการควบคุม
(ข) การประเมินความเสี่ยง
(ค) กิจกรมการควบคุม
(ง) สารสนเทศและการสื่อสาร
(จ) การติดตามประเมินผล
(3) จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายใน พร้อมข้อเสนอแนะ และแผนการปรับปรุงระบบ
การควบคุมภายใน
ระดับส่วนงานย่อย หมายความว่า
หน่วยงานที่เป็นสาขาย่อยของระดับหน่วยรับตรวจ เช่น
ระดับหน่วยรับตรวจ
คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสถานศึกษา ฉะนั้นระดับส่วนงานย่อย คือ
กลุ่มต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และงานต่าง
ๆ ในสถานศึกษา
4. องค์ประกอบมาตรฐานการควบคุมภายใน
องค์ประกอบมาตรฐานที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในตามระเบียบ
ฯ มี
5 เรื่อง คือ
4.1. สภาพแวดล้อมการควบคุม
( Control Environment )
ตามมาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องแรก
เกี่ยวกับ
สภาพแวดล้อมการควบคุม ระบุว่า “ ผู้กำกับดูแล
ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยงานรับตรวจต้องสร้างบรรยากาศของการควบคุมเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมภายใน โดยส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานเกิดจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ
และตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการควบคุมภายในรวมทั้งดำรงรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดี ”
4
การบรรลุตามเป้าหมายนี้มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้บริหารระดับส่วนงานย่อย
และผู้ประเมินผลควรพิจารณาแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมของการควบคุมเพื่อประเมินว่า
สภาพ แวดล้อมของการควบคุมภายในเป็นไปในทางที่ดี ที่จะเอื้ออำนวยต่อความสำเร็จของการควบคุมภายในหรือไม่ ปัจจัยที่ควรพิจารณาปรากฏตามข้อความใน “ ช่องจุดที่ควรประเมิน ” ภายใต้หัวข้อ “ สภาพแวดล้อมของการควบคุม
” ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยเบื้องต้นและอาจไม่ครบถ้วน และบางปัจจัยอาจไม่สามารถใช้กับทุกหน่วยงานหรือทุกกิจกรรมในหน่วยงานนั้น
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าบางปัจจัยจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและการตัดสินใจ
แต่ปัจจัยดังกล่าวมีความสำคัญที่จะทำให้บรรลุถึงความมีประสิทธิผลของสภาพแวดล้อมของการควบคุม
4.2.
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
มาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่สอง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงระบุว่า
“ฝ่ายบริหารต้องประเมินความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม”
วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้
เพื่อทราบกระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง
และการบริหารความเสี่ยงว่าเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ เงื่อนไขสำคัญก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง
คือการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนทั้งในระดับองค์กรและระดับกิจกรรม
เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นแล้ว
หน่วยงานจำเป็นต้องระบุความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นทั้งในระดับองค์กรและระดับกิจกรรม
การประเมินความเสี่ยงควรพิจารณาทั้งความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกหน่วยงาน
เมื่อมีการระบุความเสี่ยงแล้วควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงนั้น
หลังจากนั้นผู้บริหารควรกำหนดวิธีการบริหารความเสี่ยง และตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมควบคุมภายในที่จำเป็นเพื่อลดหรือบรรเทาความเสี่ยงเหล่านั้น และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ด้านประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลของการดำเนินงาน รายงานการเงินและการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือ การปฏิบัติที่เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ
4.3. กิจกรรมการควบคุม ( Control Activities )
มาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่สาม ซึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมควบคุมระบุว่า “ ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหาย ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
และให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในสำหรับ
กิจกรรมการควบคุมในเบื้องต้นจะต้องแบ่งแยกหน้าที่งานภายในหน่วยงานอย่างเหมาะสม ไม่มอบหมายให้บุคคลใด
5
บุคคลหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานที่สำคัญ หรืองานที่เสี่ยงต่อความเสียหายตั้งแต่ต้นจนจบ
แต่ถ้ามีความจำเป็นให้กำหนดกิจกรรมการควบคุมอื่นที่เหมาะสมทดแทน ”
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของมาตรฐานข้อนี้ เพื่อการพิจารณาว่าหน่วยงานมีกิจกรรมการควบคุมที่เหมาะสมเพียงพอและมีประสิทธิผลหรือไม่
กิจกรรมการควบคุม ได้แก่ นโยบาย วิธีปฏิบัติ
เทคนิค และกลไกต่างๆ ที่ช่วยให้ความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามที่ฝ่ายบริหารสั่งการเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง
กิจกรรมการควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนขององค์กร
การปฏิบัติตามแผน และการสอบทานงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความรับผิดชอบในการดูแลการใช้ทรัพยากรของรัฐให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
กิจกรรมการควบคุมมีอยู่ในทุกระดับและทุกส่วนงานขององค์กร
ตัวอย่างกิจกรรมการควบคุม เช่น นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ การอนุมัติ การมอบอำนาจ
การตรวจสอบความถูกต้อง
การสอบยันความถูกต้อง การสอบทานผลการดำเนินงาน การรักษาความปลอดภัย
การจำกัดการเข้าถึงทรัพยากร การแบ่งแยกหน้าที่การงาน
เป็นต้น
ผู้บริหารระดับส่วนงานย่อย
หรือผู้ประเมินควรมุ่งเน้นกิจกรรมการควบคุมโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของการสั่งการของผู้บริหาร
เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ของแต่ละกิจกรรม ( หรือโครงการ หรือภารกิจ
) ที่สำคัญ ดังนั้นผู้บริหารระดับส่วนงานย่อยหรือผู้ประเมิน
ควรพิจารณาว่า กิจกรรมการควบคุมสอดคล้องกับกระบวนการประเมินความเสี่ยงหรือไม่
และการสั่งการของผู้บริหารได้รับการปฏิบัติตามหรือไม่
ในการประเมินความเพียงพอของกิจกรรมการควบคุมภายใน ผู้ประเมินควรพิจารณาว่า
กิจกรรมการควบคุมที่มีอยู่มีความเหมาะสม มีจำนวนกิจกรรมการควบคุม เพียงพอ
และมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล
การประเมินดังกล่าวควรดำเนินการในแต่ละกิจกรรมที่สำคัญ การวิเคราะห์และการประเมินควรครอบคลุมถึงการควบคุมระบบสารสนเทศด้วย ผู้บริหารระดับส่วนงานย่อย หรือผู้ประเมินไม่เพียงแต่พิจารณาว่ากิจกรรมการควบคุมที่มีความสอดคล้องกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงหรือไม่เท่านั้น แต่ควรพิจารณาด้วยว่ากิจกรรมการควบคุมดังกล่าวได้นำไปใช้อย่างถูกต้อง
หรือไม่
กิจกรรมการควบคุมที่มีในองค์กรต่าง
ๆ อาจแตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยต่าง
ๆ เช่น
(1) ความแตกต่างของพันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
(2) ความแตกต่างของสภาพแวดล้อม
ขนาด และลักษณะการดำเนินงาน
ตลอดจนจำนวนค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้
(3) ความแตกต่างของระดับความซับซ้อนขององค์กร
(4) ความแตกต่างของความเป็นมาและวัฒนธรรมขององค์กรและ
(5) ความแตกต่างของความเสี่ยงซึ่งองค์กรเผชิญอยู่และพยายามลดความเสี่ยงนั้น
6
ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวมีผลต่อกิจกรรมการควบคุมภายในขององค์กร
อาจเป็นไปได้ว่า แม้
สององค์กรจะมีภารกิจ
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ และโครงสร้างองค์กรที่เหมือนกัน แต่อาจมีกิจกรรมการควบคุมที่แตกต่างกัน เนื่องจากการใช้ดุลยพินิจ การปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการที่แตกต่างกันของแต่ละหน่วยงาน
ดังนั้นรูปแบบการควบคุมภายในจึงมีความแตกต่างหลากหลายเป็นพัน
ๆ รูปแบบ แต่ละรูปแบบจึงเหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน
ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมการควบคุมจึงควรสอดคล้องกับพันธกิจ เป้าหมาย หรือเป้าประสงค์ขององค์กรเพื่อช่วยให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
4.4. สารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communications
)
ตามมาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่สี่
ซึ่งเกี่ยวกับสารสนเทศการสื่อสารระบุว่า
“
ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีสารสนเทศอย่างเพียงพอและสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคคลอื่น
ๆ อย่างเหมาะสมทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศนั้นในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา
”
วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้เพื่อให้ผู้ประเมินพิจารณาความเหมาะสมของระบบสารสนเทศและการสื่อสาร ต่อความต้องการของผู้ใช้และการบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
การดำเนินงานการควบคุมภายในที่ถูกต้องเชื่อถือได้
และเกี่ยวข้องทั้งด้านการเงิน และด้านการดำเนินงาน ข้อมูลเหล่านี้ ควรมีการบันทึกและสื่อสารไปยังฝ่ายบริหารและพนักงานอื่นในองค์กรซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในรูปแบบที่เหมาะสมและทันกาล
นอกจากนี้การสื่อสารควรครอบคลุมไปทั่วทั้งองค์กร
และใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ความมั่นใจได้ว่าการสื่อสารนั้นเป็นประโยชน์
น่าเชื่อถือ และมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารระดับส่วนงานย่อยและผู้ประเมิน
ควรพิจารณาความเหมาะสมของระบบสารสนเทศ และระบบการสื่อสารขององค์กรว่าเป็นไปตามความต้องการขององค์กรและบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการควบคุมภายในด้วย
4.5. การติดตามประเมินผล ( Monitoring )
มาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่ห้า
ซึ่งเป็นมาตรฐานสุดท้ายของการควบคุมภายในเป็นเรื่องเกี่ยวกับการติดตามประเมินผล
ซึ่งระบุว่า “ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามประเมินผล
ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผล
โดยการติดตามผลในระหว่างการปฏิบัติงาน และการประเมินผลเป็นรายครั้งอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า
- ระบบการควบคุมภายในที่วางไว้เพียงพอ เหมาะสม
มีประสิทธิภาพและมีการปฏิบัติจริง
- การควบคุมภายในดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล
- ข้อตรวจพบจากการตรวจสอบและการสอบทานอื่น ๆ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันเวลา
7
- การควบคุมภายในได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
มาตรฐานข้อนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประเมินพิจารณาความเหมาะสมของระบบการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงาน
อันจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
ในการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในควรเป็นการประเมินคุณภาพของผลการดำเนินงานในรอบ ระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้ความมั่นใจว่าข้อตรวจพบจากการตรวจสอบและการสอบทานอื่นได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างทันกาล
การติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประกอบด้วย 1)
การติดตามผลในระหว่างปฏิบัติงาน
( Ongoing
Monitoring Activities ) และ 2 )
การประเมินระบบการควบคุมภายในเป็นรายครั้ง ( Separated Evaluations of Internal System )
การติดตามผลระหว่างปฏิบัติงานเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานตามปกติ ซึ่งรวมถึง
กิจกรรมการบริหารงาน การควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน การเปรียบเทียบ
การสอบยัน และกิจกรรมอื่น ๆ
ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ประจำของพนักงาน และยังรวมถึงการทำให้แน่ใจว่าผู้บริหารและหัวหน้างานเข้าใจความรับผิดชอบของตนต่อการควบคุมภายในและเข้าใจความจำเป็นที่ต้องมีการควบคุมภายในและการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ
การประเมินเป็นรายครั้ง
เป็นการประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในของหน่วยงาน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด การประเมินอาจเป็นในรูปแบบการประเมินการควบคุมภายในด้วยตนเอง
( Self –
Assessments ) นอกจากนี้การติดตามประเมินผลยังรวมถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติเพื่อความมั่นใจว่าข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบและการสอบทานได้รับความสนใจจากฝ่ายบริหารและมีการปรับปรุงแก้ไขทันที
การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบ ฯ
ข้อ 6
การจัดทำรายงานตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544
ข้อ 6 มีรายละเอียดดังนี้
1.
การรายงานการควบคุมภายใน
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ
6 ระบุว่า “
ให้ผู้รับตรวจรายงานต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้กำกับดูแล
และคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ หรือ
ปีปฏิทิน แล้วแต่กรณี เว้นแต่การรายงานครั้งแรกให้กระทำภายในสองร้อยสี่สิบวันนับจากวันวางระบบการควบคุมภายในแล้วเสร็จ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
( 1 )
ทำความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ ที่ใช้อยู่มีมาตรฐานตามระเบียบนี้หรือไม่
( 2 )
รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน ในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ประกอบด้วย
( ก ) สภาพแวดล้อมของการควบคุม
( ข ) การประเมินความเสี่ยง
( ค ) กิจกรรมการควบคุม
( ง ) สารสนเทศและการสื่อสาร
( จ ) การติดตามประเมินผล
( 3 ) จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายใน
พร้อมข้อเสนอแนะและแผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน
การรายงานตามระเบียบ
ฯ ข้อ 6 ให้รายงานภายใน 90
วัน นับจากวันที่ 30
กันยายน หรือวันที่ 31
ธันวาคม ของทุกปีแล้วแต่กรณี สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 กำหนดให้ส่งรายงานภายในวันที่ 30
ธันวาคม ของทุกปี
9
2. ขั้นตอนการติดตามประเมินผล
2.1 ส่วนงานย่อย ( กลุ่ม / งาน )
ขั้นตอนที่ 1
-
นำแบบ ปย.2 (
ปีงบประมาณที่แล้ว ) มาติดตามผลการดำเนินงานว่าได้ดำเนินการ
ตามแผนการปรับปรุงหรือไม่ อย่างไร
แล้วสรุปผลการดำเนินงานลงในแบบติดตาม ปย.2
ขั้นตอนที่ 2
- ประเมินองค์ประกอบมาตรฐานการควบคุมภายใน
( 5 องค์ประกอบ)ในระดับส่วนงานย่อย
แล้วสรุปลงในแบบ ปย. 1
ขั้นตอนที่ 3
- ประเมินการควบคุมภายในด้วยตนเอง ( CSA ) ตามกิจกรรม / งาน ที่ดำเนินการของ
ส่วนงานย่อย เช่น
ค้นหาจุดอ่อนหรือความเสี่ยงใหม่
โดยการประชุมผู้เกี่ยวข้อง
หรือศึกษาจากเอกสาร หรือใช้แบบสอบถามการควบคุมภายในของ คตง. หรือใช้วิธีการอื่น
ๆ แล้วสรุปจุดอ่อนทั้งหมดในกระดาษ
ธรรมดา
ขั้นตอนที่ 4
- เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-3
เรียบร้อยแล้ว ให้นำกิจกรรม / งาน ที่มีความเสี่ยงหลงเหลืออยู่ตามข้อ 1 และกิจกรรม
/ งาน ที่เป็นความเสี่ยงที่พบใหม่ตามข้อ 2
และ 3 มาหามาตรการ / แนวทางการปรับปรุง
แล้วกำหนดผู้รับผิดชอบและระยะเวลาที่ดำเนินการเสร็จแล้วสรุปลงในแบบ ปย.2
ขั้นตอนที่ 5
- จัดส่งแบบ ปย.1
และแบบ ปย.2 ให้ผู้รับผิดชอบระดับหน่วยรับตรวจ ( กลุ่มอำนวยการ)
2.2 หน่วยรับตรวจ ( สพป. / สถานศึกษา )
ขั้นตอนที่ 1
-
แต่งตั้งคณะทำงาน / กรรมการ ติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน
ขั้นตอนที่ 2
-
นำแบบ ปอ.3 (
ปีงบประมาณที่แล้ว ) มาติดตามผลการดำเนินงานว่าได้ดำเนินการ
ตามแผนการปรับปรุงหรือไม่ อย่างไร
แล้วสรุปผลการดำเนินงานลงในแบบติดตาม ปอ.3
ขั้นตอนที่ 3
-
ประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
( 5 องค์ประกอบ )
ในระดับหน่วยรับตรวจ แล้วสรุปลงในแบบ ปอ.2
10
ขั้นตอนที่ 4
- เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-3
เรียบร้อยแล้ว ให้นำกิจกรรม / งาน ที่มีความเสี่ยงหลงเหลืออยู่ตามข้อ 2 และกิจกรรม
/ งาน ที่เป็นความเสี่ยงที่พบใหม่ตามข้อ 3
และแบบ ปย.2 ของกลุ่ม / งาน ที่ส่งมาให้คณะทำงาน / กรรมการ ที่แต่งตั้งพิจารณากิจกรรม
/ งานที่เป็นความเสี่ยงในระดับหน่วยรับตรวจ
แล้วสรุปลงในแบบ ปอ.3
ขั้นตอนที่ 5
-
นำกิจกรรม / งาน ในแบบ
ปอ.3 มาสรุปลงในในแบบ ปอ.1
ขั้นตอนที่ 6
-
ส่งสำเนาแบบ ปอ.1 , แบบ
ปอ.2 , แบบ ปอ.3 และแบบติดตาม ปอ.3
ให้หัวหน้า
หน่วยตรวจสอบภายในของ
สพป. สอบทานการประเมินผลดังกล่าว
แล้วหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในสรุปผลการสอบทานลงในแบบ ปส.
ขั้นตอนที่ 7
-
เมื่อหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในสอบทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นำแบบรายงาน
ดังกล่าวเสนอ
ผอ.สพป.ตาก เขต 1 พิจารณาลงนาม
ขั้นตอนที่ 8
-
สพป.ตาก เขต 1 จัดส่งเฉพาะแบบ ปอ.1 ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน , คปต,
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตาก
ภายในวันที่
30 ธันวาคม ของทุกปี
-
สถานศึกษา จัดส่งเฉพาะแบบ ปอ.1,ปอ.2และปอ.3
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตาก เขต 1 และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตาก ภายในวันที่
30 ธันวาคม ของทุกปี
การจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบที่
คตง. กำหนด
ในการดำเนินการจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบ
คตง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ให้ครบตามแบบฟอร์มที่กำหนด ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ขั้นตอนและลำดับในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน สำหรับส่วนงานย่อย
ขั้นตอนที่ 1
ในปีที่ผ่านมา
ตามที่ส่วนงานย่อยได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
ของหน่วยงาน (ปย.2)
แล้ว ในปีปัจจุบัน หน่วยงานนั้นต้องดำเนินการจัดทำรายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
(แบบติดตาม ปย.2) ด้วย
11
|
|
||||
1
2
ขั้นตอนที่ 2
นำแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (5 องค์ประกอบ) ในระดับส่วนงานย่อยมาวิเคราะห์
แล้วสรุปเกี่ยวกับการควบคุมภายในของแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ลงในแบบ ปย.1 (
ผู้ใช้หรือผู้ประเมินอาจปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อความตามความเหมาะสม )
|
|||
|
|||
3 4
ขั้นตอนที่ 3
นำข้อมูลจุดอ่อนและความเสี่ยงที่ได้จากแบบติดตาม
ปย. 2 , แบบ ปย.1 และแบบสอบถามการควบคุมภายใน มาสรุปรวบรวมลงในแบบ ปย.2
|
|
5
|
|
7
6
12
ขั้นตอนและลำดับในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน สำหรับหน่วยรับตรวจ
ขั้นตอนที่ 1
-
นำแบบ ปอ.3 (
ปีงบประมาณที่แล้ว ) มาติดตาม แล้วสรุปผลการดำเนินงานลงใน
แบบติดตาม ปอ.3
|
|
||||
1
2
ขั้นตอนที่ 2
นำแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ( 5 องค์ประกอบ ) ในระดับหน่วย
รับตรวจมาวิเคราะห์
แล้วสรุปเกี่ยวกับการควบคุมภายในของแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ลงในแบบ ปอ.2 (
ผู้ใช้หรือผู้ประเมินอาจปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อความตามความเหมาะสม )
|
|||
|
|||
3
4
13
ขั้นตอนที่ 3
นำข้อมูลจุดอ่อนและความเสี่ยงที่ได้จากแบบติดตาม ปอ. 3 , แบบ
ปอ.2 มาสรุปรวบรวมลงในแบบ ปอ.3
|
|
|
5
7
|
6
ขั้นตอนที่ 4
นำกิจกรรม / งาน ในแบบ ปอ.3 มาสรุปลงใน
แบบ ปอ.1
|
|||
|
|||
8
9
14
แผนภูมิสรุปรวมขั้นตอนการจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายใน ส่วนงานย่อย
( กลุ่ม / งาน )
15
แผนภูมิสรุปรวมขั้นตอนการจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายใน หน่วยรับตรวจ
( สพป. / สถานศึกษา )
3. แบบรายงานที่ส่วนงานย่อย ( กลุ่ม / งาน ) ต้องจัดส่งหน่วยรับตรวจ ณ
วันที่ 30 กันยายน
ของทุกปี
แบบ
ปย.1
|
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
|
แบบ ปย.2
|
รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน
|
16
4. แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่ส่วนงานย่อย ( กลุ่ม / งาน )
แบบ
ปย.1
|
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
|
แบบ ปย.2
|
รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน
|
แบบติดตาม
ปย.2
|
รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
|
แบบสอบถามการควบคุมภายใน (ถ้ามี)
|
แบบสอบถามการควบคุมภายในของกลุ่ม / งานต่าง ๆ
|
5. แบบรายงานที่หน่วยรับตรวจ ต้องจัดส่งให้ผู้กำกับการดูแล ณ
วันที่ 30 กันยายน
ของทุกปี
แบบ ปอ.1
|
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน
|
6. แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่หน่วยรับตรวจ ( สพป. / สถานศึกษา )
6.1 แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่สพป.
แบบ
ปอ. 1
|
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน
|
แบบ ปอ. 2
|
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
|
แบบ ปอ. 3
|
รายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
|
แบบติดตาม
ปอ.3
|
รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
|
แบบ ปส.
|
รายงานผลการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบภายใน
|
แบบประเมิน
( ถ้ามี )
|
เช่น
- ตารางกิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ( Checklists
)
- แบบสอบถามการควบคุมภายใน ( Internal
Control Questionnaires )
- ผังแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน (
Flowcharts )
-
เทคนิคการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง
( Control Self Assessment )
|
17
6.2 แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่สถานศึกษา
แบบ
ปอ. 1
|
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน
|
แบบ ปอ. 2
|
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
|
แบบ ปอ. 3
|
รายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
|
แบบติดตาม
ปอ.3
|
รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
|
แบบประเมิน
( ถ้ามี )
|
เช่น
- ตารางกิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ( Checklists
)
- แบบสอบถามการควบคุมภายใน ( Internal
Control Questionnaires )
- ผังแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน (
Flowcharts )
- เทคนิคการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง (Control
Self Assessment )
|
7. ตัวอย่างแบบรายงาน และคำอธิบายของ สพป. / สถานศึกษา
18
แบบ ปอ.1
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน
( กรณีไม่พบจุดอ่อนที่มีนัยสำคัญ
)
เรียน (
ผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตาก และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตาก เขต 1 )
โรงเรียน
..................................
ได้ประเมินผลการควบคุมภายในสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30
เดือนกันยายน พ.ศ. ................... ด้วยวิธีการที่โรงเรียน
..................................
กำหนดโดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากร
ซึ่งรวมถึงการดูแลทรัพย์สิน
การป้องกันหรือลดความผิดพลาด
ความเสียหาย
การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริต
ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน
และการดำเนินงานและด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและนโยบาย ซึ่งรวมถึงระเบียบปฏิบัติของฝ่ายบริหาร
จากผลการประเมินดังกล่าวเห็นว่าการควบคุมภายในของโรงเรียน.......................................... สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ..........
เป็นไปตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไว้
มีความเพียงพอและบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในตามที่กล่าวในวรรคแรก
(ชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน )
ตำแหน่ง.............................................................
วันที่..........เดือน.....................
พ.ศ.................
อ่านทั้งหมดที่ ระบบควบคุมภายใน
สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่
"ติวสอบดอทคอม" www.tuewsob.com หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ
สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/
"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น