หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567
ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ข้อสอบผู้บริหาร คู่ขนานสนามสอบจริง ปี 2562

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

ข้อสอบออนไลน์ ภาษาอังกฤษและการสร้างค่านิยม 12 ประการ

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์และสังเคราะห์



คลิ๊ก..เข้าห้องสอบ...สมรรถนะ  การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ที่

http://www.tuewsob.com/pak%20g%20v.1%20analysis.html



การวิเคราะห์และสังเคราะห์

https://drive.google.com/file/d/0ByeVwALb1yssNzd5elRqYzhjVUU/edit?usp=sharing


การวิเคราะห์และสังเคราะห์ 2 ที่

http://www.slideshare.net/thai2104/7-31828833



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน




               การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม  (SWOT Analysis)
เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนด จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อการทำงานขององค์กร  (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2553)  สอดคล้องกับสมคิด  บางโม (2552, หน้า  351)  ที่กล่าวว่า  การวิเคราะห์สวอต  (SWOT Analysis)   เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สถานการณ์  เพื่อให้ผู้บริหารรู้จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และอุปสรรค์ขององค์กร ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าองค์กรได้เดินทางมาถูกทิศและไม่หลงทาง  นอกจากนี้ยังบอกได้ว่าองค์กรมีแรงขับไปยังเป้าหมายได้ดีหรือไม่  มั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการทำงานในองค์กรยังมีประสิทธิภาพอยู่  มีจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร  ซึ่งการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม  (SWOT Analysis) มีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณา  ส่วน  ดังนี้  (ณรงค์วิทย์  แสนทอง , 2551, หน้า  22-23)   

 1.  ปัจจัยภายใน  (Internal Environment Analysis)  ได้แก่
1.1  S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล องค์กรจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์
1.2    W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัย
ภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ขององค์กร ซึ่งองค์กรจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
               2.  ปัจจัยภายนอก  (External Environment Analysis)  ได้แก่
2.1     O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส  เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อม
ภายนอกขององค์กรเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้บริหารที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
2.2    T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค  เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
ภายนอก ซึ่งการบริหารจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
สามารถแสดงรายละเอียดดังรูปภาพที่  1  (http://www.quickmba.com/strategy/swot/)
SWOT Analysis Framework
Environmental Scan
          /
\           
Internal Analysis   
   External Analysis
/ \      
           / \
Strengths   Weaknesses   
   Opportunities   Threats
|
SWOT Matrix

               ภาพที่  กรอบแนวคิดการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม  (SWOT Analysis)
              
ซึ่งในรายงานฉบับนี้จะกล่าวเฉพาะรายละเอียดของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในที่เกิดขึ้นในองค์กร  โดยมีรายละเอียด  ดังนี้
ความสำคัญการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเป็นการประเมินปัจจัยต่าง  ๆ  ที่อยู่ภายใต้
การควบคุมขององค์กร  เช่น  ทรัพยากรทางการเงิน  เครื่องจักร  อาคาร สถานที่  บุคลากร  และการดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน  (สุพานี  สฤษฏ์วานิช, 2553, หน้า 50)  เพื่อที่จะระบุ
จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร  ซึ่งธนวรรธ  ตั้งสินทรัพย์ศิริ (2547,  หน้า  155) กล่าวว่า  แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information System : MIS)  ที่มีอยู่ในองค์กร  ได้แก่  ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร  (คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร)  เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้  ด้วยจุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร  จุดอ่อนขององค์กร (Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กร
นั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป   (ชูเพ็ญ  วิบุลสันติ, 2553)   โดยณัฏฐพันธ์  เขจรนันท์ (2552, หน้า  97)  ได้ให้
ทรรศนะว่า  การประเมินสภาพแวดล้อมภายในจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า  สร้างความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ  และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า  (Customer Value)  ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาปัจจัยและทรัพยากรต่าง  ๆ  ขององค์กร  ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ  (ณัฏฐพันธ์  เขจรนันท์  และฉัตยาพร  เสมอใจ, 2547,  หน้า  90)
               การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  จะต้องมีการระดมความคิด  วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ  ซึ่งมีผู้นำเสนอรูปแบบ  หรือ Model   ที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  ไว้ดังนี้  (เอกชัย 
บุญยาทิษฐาน, 2553, หน้า  78-90)
v PRIMO-F  analysis
v 4 P
v Seven-S  Framework  of  McKinsey
v MMPF
v ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
v 2 S 4M
1.  รูปแบบ  PRIMO-F  analysis
รูปแบบนี้  หรือ  Model  นี้มาจากตัวย่อของปัจจัย  ปัจจัยด้วยกันคือ
P  =  People  หรือ บุคลากร
               บุคลากรมีประสบการณ์  และความรู้ในงานที่ทำมากน้อยแค่ไหน
               วัฒนธรรมองค์กร  จิตสำนึก  ทัศนคติ  พฤติกรรม  ปรัชญา  ค่านิยม  เข้มแข็งหรือไม่
               ความสามารถบุคลากรเป็นอย่างไร
               ภาวะผู้นำองผู้บริหารเป็นอย่างไร
               บุคลากรมีทักษะหรือความชำนาญพิเศษมากน้อยแค่ไหน
               -  แรงกดดันภายในองค์กรที่มาจากคนมีหรือไม่
               -  ขวัญและกำลงใจของบุคลากรดีหรือไม่
               ผู้ถือหุ้นของกิจการเป็นอย่างไร
               R =  Resources  หรือ  ทรัพยากร
               เรามีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานมากน้อยแค่ไหน
               องค์กรของเรามีใบรับรองที่ได้จากแหล่งต่างๆมากน้อยแค่ไหน
               สถานที่ตั้ง  และทำเลเป็นอย่างไร
               หากมีปัญหาจะสามาถขอความช่วยเหลือจากใคร  ได้มากน้อยแค่ไหน
               มีความสำเร็จในอดีตอะไรบ้างที่สร้างชื่อเสียงให้เรา
               -  ภาพลักษณ์  มีชื่อเสียงเป็นอย่างไร
               I  = Innovations  and  Ideas  หรือนวัตกรรมและความคิด
               เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
               นวัตกรรม  การวิจัยและพัฒนา  มีบ้างหรือไม่  มากน้อยแค่ไหน
               มีเครื่องมือเครื่องใช้อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ที่คุณได้เคยคิดค้นไว้
               M = Marketing  หรือการตลาด
การตลาด  ช่องทางการจัดจำหน่ายของเรามีสภาพเป็นอย่างไร
               มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันหรือไม่  มีอะไรบ้าง
               -  ราคา  คุณค่า  และคุณภาพของสินค้าหรือการบริการเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
               O = Operations   หรือ  การปฏิบัติการ
องค์กรมีสมรรถนะหลักอะไรบ้าง
               องค์กรขอมีระบบงานเสริมงานประจำ  เช่น  5ส,  QQC, ISO,  TQM บ้างหรือไม่
               กระบวนการและระบบการทำงานเป็นอย่างไร
               ระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเป็นอย่างไร  เอื้อต่อการทำธุรกิจบ้างหรือไม่
               เรามีเครือข่ายมากน้อยแค่ไหน
               -  ระบบการบริหารจัดการเป็นอย่างไร  ทันสมัยหรือไม่  มีสายการบังคับบัญชามากชั้นหรือไม่  มีการเล่นพรรคเล่นพวกหรือไม่  มีระบบอุปถัมภ์หรือไม่  การประเมินความดีความชอบเป็นอย่างไรยังคงใช้แบบเดิมๆคือระบบดุลพินิจส่วนบุคคล  หรือมีการตั้งเป้าหมายงาน  แล้วใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานในการประเมินและพิจารณาความดีความชอบ
แรงกดดันภายในองค์กรที่มจากการทำงานมีหรือไม่
               เทคโนโลยีพื้นฐานของเราเข้มแข็งและทันสมัยมากน้อยแค่ไหน
               ขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานชัดเจน  และกะทัดรัดดีหรือไม่
               F = Finance  หรือการเงิน
ฐานะทางการเงิน  และผลตอบแทนที่คดว่าจะได้รับเป็นอย่างไร
               การหมุนเวียนเงินดมีสภาพคล่องแค่ไหน
               มีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน
2.  รูปแบบ  4 P  analysis
รูปแบบ  หรือ  Model  นี้มาจากตัวย่อของปัจจัย  ปัจจัยด้วยกันคือ
P  =  People  บุคลากร  หมายถึงทรัพยากรมนุษย์
บุคลากรและทักษะ 
               การพัฒนาบุคลากรเป็นอย่างไร
P  =  Properties  ทรัพย์สิน
อาคาร
               เครื่องจักร
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
P  =  Processes  กระบวนการ
การเงินเป็นอย่างไร (อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน  และอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ)
               การปกครอง
การบริหารจัดการ  และภาวะผู้นำ
การติดต่อสื่อสาร
P  =  Products  and  Services  ผลิตภัณฑ์และการบริการ
ลูกค้า
               การขาย
ผลิตภัณฑ์
การตลาด
               ความสามารถ  หรือสมรรถนะ
ผู้ส่งมอบ
ทรัพย์สินทางปัญญา
3.  รูปแบบ  Seven-S  Framework  of  McKinsey
รูปแบบ  หรือ  Model  นี้มาจากตัวย่อของ   ปัจจัยด้วยกันคือ

 











               โมเดลนี้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการที่ว่าต้องการให้องค์กรได้เกิดความเข้าใจว่าแต่ละปัจจัยนั้นมันสัมพันธ์กันอย่างไร  ในความสัมพันธ์นี้องค์กรจะต้องปรับแนวทางของแต่ละตัวให้มีความสมดุล  และเสริมซึ่งกันและกัน  ดังนั้นโมเดลจึงถูกใช้ประโยชน์หลักเพื่อให้เห็นว่าปัจจัยตัวไหน  จะต้องมีการปรับแนว 
               Strategy  - กลยุทธ์
               หมายถึง  แผนที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างหรือคงไว้ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขัน  หรือหาช่องทางอย่างอื่น
องค์กรของเรามีการนำเอาระบบการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใหรือไม่
               ระบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ใช้อยู่เข้มแข็งแค่ไหน
ระบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ใช้อยู่เป็นระบบที่บูรณาการมากน้อยเท่าไร
เราได้นำผลที่ได้จากการจัดทำกลยุทธ์มาใอย่าเต็มที่มากน้อยเพียงไร
               ความมุ่งมั่นของเราที่จะบรรลุวัตถุประสงค์  มีมากน้อยเพียงไร
วัตถุประสงค์  และตัวชี้วัดได้มีการนำมาใช้อย่างครบถ้วนหรือไม่
บุคลากรรู้และเข้าใจวิสัยทัศน์มากน้อยเพียงไร
               บุคลากรให้ควมสนใจต่อวิสัยทัศน์มากน้อยเพียงไร
องค์กรสามาถบรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดมากน้อยเพียงไร
               Structure  - โครงสร้าง
               หมายถึง  วิธีการหรือแนวทางที่องค์กรถูกจัดสร้างขึ้น  เป็นตัวที่จะบอกว่าใครเป็นหัวหน้าใคร  และใครที่จะต้องรายงานใคร  คำถามที่มีได้คือ
โครงสร้างองค์กรของเราเหลือน้อยชั้นมากน้อยเพียงไร
               โครงสร้างการทำงานมีความชัดเจนมากน้อยเพียงไร
โครงสร้างการทำงานเกื้อหนุนให้มีการทำงานเป็นทีม  และการกระจายอำนาจมากน้อยแค่ไหน
ความร่วมมือระหว่างกันในแต่ละแผนกงานมีมากน้อยเพียงไร
               ทีมงานรวมตัวกัน  และปรับตัวเข้าหากันได้ดีเพียงไร
สายการบังคับบัญชาเป็นอย่างไร  ชัดเจนหรือไม่ชัดเจน
สายการบังคับบัญชาทำให้บุคลากรต้องรับฟังคำสั่งจากหัวหน้าหลายคนหรือไม่
               System  - ระบบ
               หมายถึง  กิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานประจำวันที่บุคลากรในองค์กรต้องดำเนินการให้ลุล่วง  คำถามที่มีได้คือ
ระบบงานอะไรที่เป็นหลักขององค์กร  เป็นระบบทำงานกันไปวันๆ  ตามพื้นฐานการปฏิบัติงานประจำวัน  หรือมีระบบที่ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
               เรามีระบบงานที่เป็นสากลหรือไม่
ระบบการบริหารจัดการที่มีอยู่ทำให้เราสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ามากน้อยเพียงไร
               ระบบการตรวจสอบผลิตภัณฑ์  หรือการบริการมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร  งานยังคงผิดพลาดอยู่หรือไม่
ระบบการเฝ้าติดตามกระบวนการเป็นอย่างไร  มีประสิทธภาพมากน้อยเพียงไร
ระบบงานที่จัดทำขึ้นและนำลงปฏิบัติมีประสิทธิภาพน้อยแค่ไหน
องค์กรได้นำระบบ  Competency  มาใช้ครบถ้วนแค่ไหน
               Shared  Value  - ค่านิยมร่วม
               หมายถึง  วัฒนธรรมองค์กร  หรือทัศนคติ  หรือความรู้สึกนึกคิดของบุคลากรที่ไปในทิศทางเดียวกัน  ปัจจัยนี้ถูกนำมาวางไว้ตรงกลาง  แสดงว่ามันมีความสำคัญเป็นอย่างมาก  เท่ากับเป็นเป้าหมายสำคัญที่องค์กรต้องการที่จะบรรลุถึง  คำถามที่มีได้คือ
               Shared  Value  - ค่านิยมร่วม
               หมายถึง  วัฒนธรรมองค์กร  หรือทัศนคติ  หรือความรู้สึกนึกคิดของบุคลากรที่ไปในทิศทางเดียวกัน  ปัจจัยนี้ถูกนำมาวางไว้ตรงกลาง  แสดงว่ามันมีความสำคัญเป็นอย่างมาก  เท่ากับเป็นเป้าหมายสำคัญที่องค์กรต้องการที่จะบรรลุถึง  คำถามที่มีได้คือ
องค์กรของเรามีอะไรที่เป็นค่านิยมร่วม  เป็นไปในทางส่งเสริมองค์กรหรือเป็นอุปสรรค       Style  - รูปแบบ
               หมายถึง  รูปแบบของความมีภาวะผู้นำที่ผู้บริหารนำมาใช้  คำถามที่มีได้คือ
รูปแบบการทำงานของผู้บริหารเป็นอย่างไร
รูปแบบการบริหารจัดการเอื้อประโยชน์ต่อเป้าหมายขององค์กรหรือไม่  อย่างไร
ผู้บริหารมีภาวะผู้นำหรือไม่
ภาวะผู้นำของผู้บริหารมีมากน้อยเพียงไร
ผู้บริหารมีจิตสำนึกที่จะบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงไร
มีรูปแบบการทำงานมีหัวหน้าหลายคนที่สร้างความสับสนในการบริหารจัดการหรือไม่
ภาวะผู้นำของผู้บริหารทำให้บุคลากรทำงานเพื่อแข่งขันกัน  หรือให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน
การทำงานเป็นทีมขององค์กรมีความเป็นทีมอย่างแท้จริงหรือเป็นเพียงกลุ่มคนที่รวมตัวเข้าด้วยกันตามหน้าที่
               Staff  - บุคลากร
               หมายถึง  พนักงานหรือลูกจ้างที่รวมถึงความสามารถหรือสมรรถนะของพวกเขาด้วย  คำถามที่มีได้คือ
บุคลากรของเรามีความรู้ความชำนาญในงานมากน้อยเพียงไร
บุคลากรของเรามีทัศนคติที่ดีต่อการบริการมากน้อยเพียงใด
ขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นอย่างไร
บุคลากรมีสมรรถนะตามหลักCompetency  มากน้อยเพียงใด
               Skill  - ทักษะ
               หมายถึง  ความรู้  ความชำนาญของพนักงาน  หรือลูกจ้างที่มีต่องานที่ต้องทำให้ลุล่วงตามเป้าหมาย  คำถามที่มีได้คือ
ทักษะอะไรที่มีความจำเป็นมากที่สุดขององค์กร  องค์กรมีทักษะนี้อยู่มากน้อยเพียงใด
ทักษะการทำงานประจำมีมากน้อยเพียงใด
ทักษะในการใช้เครื่องมือ  หรืออุปกรณ์มีมากน้อยเพียงใด
บุคลากรระดับบริหารมีทักษะการบริหารจัดการหรือไม่
มีช่องว่างระหว่างทักษะมากน้อยเพียงไร
มีการวัด  เฝ้าติดตาม  และควบคุมทักษะที่จำเป็นมากน้อยเพียงไร
4.  รูปแบบ MMPF
 โมเดลนี้มาจากตัวย่อของ 4 ประเด็นด้วยกันคือ
1.         Marketing – การตลาด
ตัวอย่างเช่น
               ความเป็นผู้นำด้านการตลาด
ชื่อเสียงดี
เครื่องหมายการค้าดัง
ฐานลูกค้าที่เข้มแข็ง
ผลิตภัณฑ์ที่เข้มแข็งในตลาด
การวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมที่ดีเด่น
ทีมงานขายที่ชำนาญการ
ทีมงานขายตรงที่มีประสิทธิภาพเยี่ยมยอด
ฐานข้อมูลเก็บรายชื่อและรายละเอียดลูกค้าที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
บริการหลังการขายที่เยี่ยมยอด
สินทรัพย์ทางปัญญาที่มีคุณค่าสูง
2.         Management – การบริหารจัดการ
ตัวอย่างเช่น
               รากฐานการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
ผู้บริหารที่มุ่งมั่นสร้างคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร
ความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็ว  และแม่นยำ
บุคลากรที่มีความสามารถ  และมีทักษะในงานที่ทำ
การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ
มีแรงจูงใจและขวัญกำลังใจดีเยี่ยม
มีระบบการบริหารจัดการ  ISO  9000  หรือ  TQM ที่มีประสิทธิภาพ
3.         Production – การผลิต  หรือการบริการ
ตัวอย่างเช่น
               สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดในการผลิตที่ทันสมัย  และมีประสิทธิภาพ
แผนการผลิตที่ดีเยี่ยม  ทำให้การผลิตไม่มีการหยุดชะงัก
ระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน  (TPM)  ที่มีประสิทธิภาพ
สถานที่ตั้งดี
ผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ
ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
ความคงทน  และอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่ยาวนาน
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ดีเยี่ยมและเชื่อถือได้
4.         Finance – การเงิน
ตัวอย่างเช่น
               กระแสเงินสดหมุนเวียนดีเยี่ยม
รายรับและผลกำไรที่เติบโต
การบริหารการเงินที่ยอดเยี่ยม
เครดิตดี
หนี้เสียน้อย
มีสัมพันธภาพที่ดีกับธนาคาร
สรุป  รูปแบบสำหรับหลักในการวิเคราะห์
1.         People  หรือ  บุคลากร
2.         Resources  หรือ  ทรัพยากร
3.         Innovations  and Ideas  หรือ  นวัตกรรมและความคิด
4.         Management  หรือ  การบริหารจัดการ
5.         Marketing  หรือ การตลาด
6.         Operations   หรือการปฏิบัติการ
7.         Finance  หรือ  การเงิน
8.         Properties  ทรัพย์สิน
9.         Processes  กระบวนการ
10.    Products  and  Services  ผลิตภัณฑ์และการบริการ
11.    Strategy  กลยุทธ์
12.    Structure  โครงสร้าง
13.    System  ระบบ
14.    Style  รูปแบบ
15.    Skill  ทักษะ
16.    Shared  Value  ค่านิยมร่วม
























สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่

"ติวสอบดอทคอม"  www.tuewsob.com  หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ

 ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา


สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/

"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ

ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com โดย ผอ.นิกร เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา

ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ บน ยูทูป
ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ ฟรี บน ยูทูป

ติวสอบดอทคอม (เว็บติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม