หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567
ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ข้อสอบผู้บริหาร คู่ขนานสนามสอบจริง ปี 2562

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

ข้อสอบออนไลน์ ภาษาอังกฤษและการสร้างค่านิยม 12 ประการ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การบริหารงบประมาณ การเงิน และสินทรัพย์




การบริหารงบประมาณ การเงิน และสินทรัพย์


การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน  ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว)

หลักการ
                     ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  หมวด  3  มาตรา  43   ได้บัญญัติไว้ว่า    “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ. 2545  หมวด 2   มาตรา 10 ได้บัญญัติไว้ว่า   “การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย  และหมวด 8 มาตรา 60 ได้บัญญัติไว้ว่าให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศโดยจัดสรรเป็นเงินงบประมาณเพื่อการศึกษา ดังนี้(1) จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียมกัน    จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ที่จะต้องดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามข้อบัญญัติดังกล่าว

วัตถุประสงค์
                      งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป   รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว) จัดสรรให้สถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2540    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542    และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พ. ศ. 2545

 แนวทางการใช้งบประมาณ
                เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว)
เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้มากที่สุด จึงกำหนดแนวปฏิบัติดังนี้
1   ให้สถานศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา
ที่สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
2    เสนอแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษาผ่านความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3     รายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้สาธารณชนได้รับทราบ
4    การใช้จ่ายงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา 

ลักษณะการใช้งบประมาณ
                           การใช้งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (ค่าใช้จ่ายรายหัว)  ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้ในลักษณะ  3  ประเภทงบรายจ่าย  ดังนี้
1.         งบบุคลากร
1.1 ค่าจ้างชั่วคราว เช่น จ้างครูอัตราจ้างรายเดือน
 พนักงานขับรถ  ฯลฯ
2.         งบดำเนินงาน
2.1 ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนวิทยากรวิชาชีพท้องถิ่น ฯลฯ
2.2 ค่าใช้สอย เช่น  ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าเช่าที่พัก  ค่าพาหนะ  ค่าจ้างซ่อมแซม ค่าจ้างเหมาบริการ   ค่าพาหนะพานักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้  ฯลฯ
2.3 ค่าวัสดุ  เช่น  ค่าวัสดุการศึกษา  ค่าเครื่องเขียน  ค่าวัสดุ
เวชภัณฑ์  ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน   ฯลฯ
2.4 ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์  ฯลฯ
3.         งบลงทุน
3.1 ค่าครุภัณฑ์  เช่น  จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
 เครื่องถ่ายเอกสาร  ฯลฯ
3.2  ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อประกอบดัดแปลง  ต่อเติม หรือปรับปรุงที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินเกินกว่า  50,000 บาท เช่น ค่าจัดสวน ค่าถมดิน  ถนน  รั้ว  สะพาน  บ่อน้ำ   ฯลฯ

ทั้งนี้  กรณี  งบลงทุนและงบดำเนินงาน  สามารถดำเนินการได้เพิ่มเติมตามหนังสือของสำนักงบประมาณ  ด่วนที่สุด  ที่ นร 0702 / ว 51
ลงวันที่  20  มกราคม 2548  เรื่อง  หลักการจำแนกประเภทรายจ่าย
ตามงบประมาณ


การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน  ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 (เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน)

นิยาม
                          งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป  รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน) คือเงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่มีนักเรียนยากจน เพื่อจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเพิ่มโอกาสทางการศึกษา   เป็นการช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1    ถึง มัธยมศึกษาปีที่  3 ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
นักเรียนยากจน หมายถึง  นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ ต่อครัวเรือนไม่เกิน  40,000  บาท  ต่อปี 

เกณฑ์การจัดสรร
จัดสรรให้นักเรียนที่ยากจนในชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    ของสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 

ลักษณะการใช้งบประมาณ
               ให้ใช้ในลักษณะแบบ     ถัวจ่าย     ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน
ค่าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนักเรียน   ค่าอาหารกลางวัน   และค่าพาหนะในการเดินทาง

การใช้จ่ายงบประมาณ
                              สถานศึกษาสามารถเลือกวิธีดำเนินการ   จ่ายหรือจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต  และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจนได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
                              1.ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน 
                                             จัดซื้อแจกจ่ายให้แก่นักเรียน  หรือให้ยืมใช้
                              2.ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน
                                             จัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตแจกจ่ายให้แก่นักเรียน
3.ค่าอาหารกลางวัน
                                             จัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร   หรือจ้างเหมาทำอาหาร    หรือจ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง
                              4.ค่าพาหนะในการเดินทาง
                                             จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง   หรือจ้างเหมารถรับส่งนักเรียน
- 4 -

                                             กรณีการดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง - จัดหา       ต้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                             กรณี  จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง   ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน  ร่วมกันจ่ายเงิน  โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน
                                            
แนวทางการดำเนินงาน
1. ระดับสถานศึกษา
1.1 สำรวจข้อมูลนักเรียนยากจน   และรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
1.2 จัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
1.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลนักเรียนยากจน
1.4 รายงานผลการดำเนินงาน 
2.  ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.1    รวบรวมข้อมูลนักเรียนยากจนจากสถานศึกษา และรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
2.2    แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง  ตรวจสอบข้อมูล  และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย ผู้บริหาร  เจ้าหน้าที่ หรือผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนแต่ละช่วงชั้นตามความเหมาะสม
2.3 กำกับ  ติดตาม  ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงาน


การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน  ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 (ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน)

นิยาม
               งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอน) คือเงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่ได้ดำเนินการจัดที่พักให้แก่นักเรียน  ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ไม่สะดวก   ห่างไกล   กันดาร  ไว้สำหรับพักอาศัย  ทั้งที่จัดในและนอกสถานศึกษา โดยสถานศึกษาได้ดำเนินการควบคุมดูแล  และจัดระบบแบบเต็มเวลา

เกณฑ์การจัดสรร
จัดสรรให้แก่นักเรียนที่มีถิ่นที่อยู่    ไม่สะดวก  ห่างไกล   กันดาร  ทำให้เป็นอุปสรรค    ต่อการเดินทางไป กลับระหว่างถิ่นที่อยู่กับสถานศึกษา  จำเป็นต้องพักอาศัยในสถานที่ที่สถานศึกษาจัดให้    หรือที่อื่นที่สถานศึกษาสามารถดำเนินการควบคุมดูแลได้ในระดับชั้น  ป. 1 ม. 3  

                      ยกเว้น
1.         นักเรียนในสถานศึกษาทั่วไปแบบประจำ  ได้แก่
โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย   โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย  โรงเรียนประชามงคล  โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดน่าน  ฯลฯ
2.         นักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์   โรงเรียนการศึกษาพิเศษ
 ศูนย์การศึกษาพิเศษ
3.         สถานศึกษาที่ได้ดำเนินการจัดหอพักในสถานศึกษาและได้เรียกเก็บเงินค่าอาหารนักเรียนประจำพักนอนทุกคนแล้ว   กรณีที่ได้เรียกเก็บเงินไม่ครบทุกคน  สามารถจัดสรรให้ได้เฉพาะจำนวนนักเรียนส่วนที่เหลือ   และต้องเป็นนักเรียนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ลักษณะการใช้งบประมาณ
               ใช้เป็น ค่าอาหาร นักเรียนประจำพักนอน       

การใช้จ่ายงบประมาณ
                              1.ให้สถานศึกษาจ่ายหรือจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนประจำ
พักนอน  โดยสามารถเลือกวิธีดำเนินการได้  ดังนี้
                                             1.1.จัดซื้อวัตถุดิบประกอบอาหาร  หรือจ้างเหมาทำอาหาร  โดยให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                             1.2.จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียน  โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน   ร่วมกันจ่ายเงิน    โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน
                              2.หากมีเงินงบประมาณคงเหลือ     สามารถนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนได้ 

แนวทางการดำเนินงาน
1. ระดับสถานศึกษา
1.1 สำรวจข้อมูลจากโครงการนักเรียนประจำพักนอนและรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
1.2 จัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
1.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลนักเรียนประจำพักนอน
1.4 รายงานผลการดำเนินงาน 
               2. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.1 รวบรวมข้อมูลนักเรียนประจำพักนอนจากสถานศึกษา และรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2  แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง  ตรวจสอบข้อมูล  และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย ผู้บริหาร  เจ้าหน้าที่ หรือผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาที่มีนักเรียน
พักนอนตามความเหมาะสม
2.3  กำกับ  ติดตาม  ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน


ตัวอย่าง ขอบข่ายงาน  


กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์      
ขอบข่ายภารกิจงาน
1.         งานการเงิน
2.         งานบริหารพัสดุ
3.         งานบัญชี
4.         งานธุรการ
มีผู้รับผิดชอบ ดังนี้

 ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่
ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน ดังนี้
1.         กำกับ ดูแล ติดตาม การปฏิบัติงานของข้าราชการ ในกลุ่มบริหารงานการเงินและ
สินทรัพย์ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและการบริหารจัดการสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์
2.         ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มบริหารงานการเงิน
และสินทรัพย์
3.         พิจารณา กลั่นกรองเรื่อง ก่อนนำเสนอรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
4.         เสนอแนะการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในกลุ่ม
5.         ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
6.         เสนอแนะการเสนอความดีความชอบของบุคลากรภายในกลุ่ม ก่อนนำเสนอรอง
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่ดูแลกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
7. จัดทำสมุดเงินสด
8. จัดทำสมุดเงินฝากธนาคารใน/นอกงบประมาณ
9. จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารใน/นอกงบประมาณ
10. จัดทำบัญชีแยกประเภททั่วไปที่เกี่ยวกับเงินงบประมาณ/นอกงบประมาณทุกประเภท
11. จัดทำทะเบียนย่อยเงินรายได้แผ่นดิน/ เงินรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง
12. ดำเนินการรับ และ นำส่งเงิน ในระบบ GFMIS
13. จัดทำรายงานเงินรายได้แผ่นดินและรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง ส่ง สตง.(ประจำเดือน)
ส่ง สพฐ. (ประจำปี)
14. ดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
15. ดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก ของโรงเรียน
16. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
17. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กรณีผู้อำนวยการกลุ่มติดราชการหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้บุคคลต่อไปนี้
ปฏิบัติหน้าที่ตามลำดับ ดังนี้
1.         นางเพ็ญวดี  บุญรอด ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ
2.         ร.ต.ท.หญิงสุภาภรณ์  พงศ์พานิช  ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
                                                      
งานการเงิน
ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ  ทำหน้าที่หัวหน้างานการเงิน ควบคุมกำกับการตรวจสอบและพิจารณาพร้อมเสนอแนะให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานทางด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุ ของโรงเรียนในสังกัด ตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งบริหารการเบิกจ่ายงบประมาณ  ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการ ตรวจสอบหลักฐาน ควบคุม การเบิกจ่ายประจำเดือน ของเงินบำนาญปกติ และเงินอื่น  ที่จ่ายควบคู่กับบำนาญ
2. บริหารจัดการเกี่ยวกับการขอรับเงินช่วยพิเศษ 3 เดือน การขอรับเงินบำเหน็จตกทอด ของข้าราชการบำนาญในสังกัด
3. บริหารจัดการเกี่ยวกับการขอรับเงินช่วยพิเศษ 3 เดือน การขอรับเงินบำเหน็จตกทอด การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ในกรณีที่ถึงแก่กรรม/ลาออก/ เกษียณอายุราชการ
              4. บริหารจัดการเกี่ยวกับการขอรับเงิน กบข/กสจ/ และเงินบำเหน็จดำรงชีพ ให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำ ในกรณีที่ลาออก/ถึงแก่กรรม/เกษียณอายุราชการ
              5. ดำเนินการเกี่ยวกับการขอเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
6. ดำเนินการเกี่ยวกับการขอยืมเงินงบประมาณทั้งระบบทุกประเภท และตรวจสอบเอกสารหลักฐานการล้างหนี้เงินยืมทดรองราชการพร้อมเบิกหักผลักส่ง
7. ดำเนินการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการ
8. ดำเนินการเกี่ยวกับค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
9. ประสานงานกับคลังเขต 9 สงขลา และคลังจังหวัดสงขลา ในส่วนของงานที่เกี่ยวข้อง
10. ปฏิบัติหน้าที่แทน นางดวงฤทัย  นวจินดาพันธุ์ ในกรณีที่ไปราชการหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
              11. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  
ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน  มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน ดังนี้
1. จัดทำรายละเอียดการโอนเงินทุกประเภทเข้าบัญชีรายตัว
2. ดำเนินการแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับเงินทราบ
3. จัดทำข้อมูลโอนเงินรายตัวของเงินสวัสดิการ ค่าการศึกษาบุตร  ค่ารักษาพยาบาล   เพื่อนำเข้าโปรแกรมระบบ e-money
4. จัดทำข้อมูลโอนเงินรายตัวสวัสดิการค่าเช่าบ้านระหว่างเดือน   ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก  ค่าตอบแทนวิทยากรอิสลามศึกษา  ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลา  ค่าสาธารณูปโภค รวมถึงค่าจ้างครูพี่เลี้ยง นักการภารโรง ค่าจ้างครูวิทย์-คณิต และเงินอื่น ๆ
5. ทำหน้าที่รับ จ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินทดรองราชการ
6. ดำเนินการเบิก ถอน เงินรายได้สถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัด
7. จัดทำทะเบียนคุมเช็ค
8. ดำเนินการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินและดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
               9. ตรวจสอบสถานะการโอนเงินในระบบ GFMIS (ZAP_RPT503-รายการขอเบิก)
10. กรรมการดำเนินการรับ-จ่ายเงินทุกประเภท
11. จัดทำหนังสือแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีตรงผู้ขาย เพื่อประสานให้ผู้ขายออกใบเสร็จรับเงิน
12. ปฏิบัติหน้าที่แทน นางสมศรี  อุคะหา  ในกรณีที่ไปราชการหรือไม่สามารถปฏิบัติ
ราชการได้
13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ตำแหน่ง  นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน  ดังนี้ 
1. เบิกจ่ายเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. เบิกจ่ายเงินสมทบและเงินชดเชยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการครูและ                         บุคลากรทางการศึกษา
3. เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. เบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน  ค่าตอบแทนพิเศษ  เงินช่วยค่าครองชีพของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
5. เบิกจ่ายเงินค่าจ้างประจำ /เงินช่วยค่าครองชีพของลูกจ้างประจำ
6. เบิกจ่ายเงินสมทบกองทุนลูกจ้างประจำ (กสจ.) พร้อมจัดทำรายละเอียดการนำส่งเงิน
7. เบิกจ่ายเงินเดือนตกเบิกกรณีข้าราชการเลื่อนระดับสูงขึ้น และโอนย้ายจากต่างสำนักงานเขตพื้นที่
8. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินกรณีต่าง ๆ ในหน้าที่ที่รับผิดชอบผ่านระบบ  GFMIS
9. จัดทำหนังสือรับรองการจ่ายเงินเดือนครั้งสุดท้าย (แบบ 5110 )
10. ดำเนินการหักเงิน  ณ  ที่จ่าย   ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ
11. จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2
12. จัดทำรายละเอียดการโอนเงิน  เข้าบัญชีรายตัวงานประจำเดือนของงบบุคลากร
เงินเดือน   ค่าจ้างประจำ  เงินวิทยฐานะ  ค่าตอบแทน  ค่าตอบแทนพิเศษ
13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ  ตามที่ได้รับมอบหมาย

ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน มีหน้าที่รับผิดชอบ
และปฏิบัติงาน ดังนี้
               1. ดำเนินการตรวจสอบและเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าการศึกษาบุตรให้กับโรงเรียนในสังกัด
               2. ยืมเงินทดรองราชการเพื่อจ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าการศึกษาบุตร
               3. ดำเนินการตรวจสอบและเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าการศึกษาบุตรให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำในสำนักงานเขตพื้นที่  และข้าราชการบำนาญ ในสังกัด
(one stop service)
               4. ดำเนินการเกี่ยวกับการแจ้งและตอบรับการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ                           ค่ารักษาพยาบาลและค่าการศึกษาบุตรให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำในสำนักงานเขตพื้นที่
               5. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล                            ค่าการศึกษาบุตร  ให้แก่ข้าราชการบำนาญและ  ข้าราชการและลูกจ้างประจำในสำนักงานเขตพื้นที่
6. ดำเนินการรับและนำส่งเงินทุกประเภท
7. ดำเนินการจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
8. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน
9. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินประกันสังคมของพนักงานราชการ/ธุรการโรงเรียน/
ครูอัตราจ้างรายเดือน
               10. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพนักงานราชการ/เงินเพิ่มค่าครองชีพ/ค่าตอบแทนพิเศษ
               11. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน
               12. จัดทำรายละเอียดการนำส่งเงินประกันสังคมตามโปรแกรมระบบประกันสังคม
               13. จัดทำรายละเอียดการนำส่งเงินประกันสังคมในส่วนของ นักการภารโรง/ครูพี่เลี้ยง/
ครูจ้างวิทย์-คณิต
               14. จัดทำรายการหัก ณ ที่จ่าย และทำรายละเอียดการโอนเงินเข้าบัญชีรายตัว เงินค่าจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน
               15.  การบันทึกรายการขอเบิกเงินในหน้าที่ที่รับผิดชอบตามระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง
               16. กรรมการรับเงิน กรณีที่เบิกเป็นเงินสดเพื่อจ่ายให้กับผู้มีสิทธิรับเงิน
              17. ปฏิบัติหน้าที่แทน นางเพ็ญวดี   บุญรอด ในกรณีนางเพ็ญวดี บุญรอด ไปราชการหรือ               ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
18. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

งานบริหารพัสดุ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุชำนาญการ  ทำหน้าที่หัวหน้างานพัสดุ
 มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน ดังนี้
               1. วิเคราะห์  วางแผน  การบริหารจัดการ ควบคุม ดูแลในเรื่องของการจัดซื้อ จัดจ้าง และการจัดหาให้ได้มาซึ่งพัสดุด้วยวิธีอื่น
               2. การดำเนินงาน  การบริหารจัดการ ตลอดจนการประสานงานในที่ราชพัสดุ  การขอขึ้นทะเบียนอาคารสิ่งปลูกสร้าง  รื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้าง   ตลอดจนการดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร  หลักฐาน  และเบิกจ่าย   งบรายจ่าย งบลงทุน  ของโรงเรียน
ในสังกัด  ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง  ตลอดจนดำเนินการสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย ข้อมูลสินทรัพย์ถาวร 
จัดทำใบ PO ในระบบ GFMIS
               4. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง  และเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเป็นงบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ของสพป.สงขลาเขต 2 และที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานอื่น
               5.  ดำเนินการจัดทำทะเบียนทรัพย์สินถาวร  ทะเบียนครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์
               6. เร่งรัด  ติดตาม  และรายงาน  การใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนของโรงเรียนและของ สพป.สงขลาเขต 2 ตลอดจนถึงที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานอื่น
               7. ตรวจสอบพัสดุประจำปี
               8. ปฏิบัติหน้าที่แทน  นางศิวาภรณ์  อรัญดร และนางอำไพพัณณี  บุญศรี  ในกรณี
นางศิวาภรณ์  อรัญดร และนางอำไพพัณณี  บุญศรี ไปราชการหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
               9. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุชำนาญงาน มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน ดังนี้
               1. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง  และเบิกจ่ายเงินงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2  และโครงการต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการ   และดำเนินการสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย  ใบ PO ในระบบ GFMIS
               2. ดำเนินการควบคุม  จัดทำบัญชีวัสดุ  และเบิก-จ่ายวัสดุให้กับกลุ่มงานต่าง ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
               3. จัดทำทะเบียนคุมและจ่ายใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ขอใช้
               4. เบิกถอนเงินประกันสัญญา
               5. กรรมการรับเงิน กรณีที่เบิกเป็นเงินสดเพื่อจ่ายให้กับผู้มีสิทธิรับเงิน
6. ปฏิบัติหน้าที่แทน นางสาววรณัน  กาญจนศรี  และนางอำไพพัณณี  บุญศรี ในกรณี
นางสาววรณัน  กาญจนศรี  และนางอำไพพัณณี  บุญศรี   ไปราชการหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุชำนาญงาน   มีหน้าที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบ ดังนี้
1.         ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานอื่น งบดำเนินงาน
และเงินอุดหนุน จัดทำใบ Po และตรวจรับในระบบ GFMIS
2.         ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเงินงบประมาณงบดำเนินงาน (วัสดุโรงเรียน) จัดทำใบ
Po และตรวจรับในระบบ GFMIS
3.         เร่งรัด ติดตาม และรายงานการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณทุกหมวดรายจ่าย
4.         ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเงินค่าจ้างนักการภารโรง/ครูพี่เลี้ยง/ครูจ้างวิทย์-คณิต
5.         ดำเนินการตรวจสอบเงินสมทบประกันสังคมของนักการภารโรง และครูจ้าง
6.         จัดทำ ขบ.02 ทุกรายการ เมื่อเอกสารถูกต้องครบถ้วน เสนอขออนุมัติเบิกเงิน เพื่อมอบให้
งานการเงินวางเบิกเงินในระบบ GFMIS ในส่วนของ ขบ.02 รายการค่าจ้างนักการภารโรง/ครูพี่เลี้ยง/ครูจ้างวิทย์-คณิต ให้ส่งงานการเงินภายในวันที่ 10 ของเดือน
7.         ดำเนินการสร้างข้อมูลหลักผู้ขายในระบบ GFMIS
8.         จัดทำทะเบียนคุมการเบิกเงินค่าจ้างนักการภารโรง, ครูจ้างวิทย์-คณิต, ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ
9.         จัดทำทะเบียนคุมการเบิกเงินค่าวัสดุต่าง ๆ ในส่วนของโรงเรียน
10.   ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
งานบัญชี 
ตำแหน่ง  นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้างานบัญชี มีหน้าที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบ ดังนี้
               1. จัดทำบัญชีย่อยเงินรายได้สถานศึกษา / เงินประกันสัญญา
2. บันทึกการเบิก / จ่ายเงิน ในระบบ GFMIS และดำเนินการเบิกเงินงบประมาณต่างๆ ตามที่นางอำไพพัณนี บุญศรี จัดทำ ขบ.02 ไว้
3. บันทึกการรับล้างหนี้เงินยืม ในระบบ GFMIS
               4. บันทึก / รายงานในด้านบัญชีตามระบบ GFMIS
               5. ตรวจสอบรายงานการเงิน ในระบบ GFMIS
               6. จัดทำรายงานการเงินประจำเดือน / ประจำปี ส่งให้ สตง., คลังจังหวัด, สพฐ.
               7. จัดเก็บงบเดือนเพื่อรอการตรวจสอบ
               8. ตรวจสอบใบเสร็จ หลักฐานการจ่ายเงินที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
               9. ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี
               10. ล้างบัญชีพักสินทรัพย์ในระบบ GFMIS
               11. จัดทำหนังสือแจ้งสรรพากร กรณีผู้ขายไม่จัดส่งใบเสร็จรับเงิน
               12. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ
               13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ตำแหน่ง  นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน ดังนี้
               1. จัดทำทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก
               2. จัดทำทะเบียนคุมเงินประจำงวด
               3. จัดทำโปรแกรมติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
               4. จัดทำทะเบียนคุมรายการขอเบิกจ่ายเงิน
               5. ตรวจสอบการจัดสรรงบประมาณตามระบบ GFMIS
               6. จัดทำรายงานเงินประจำงวดส่ง สพฐ.
               7. บริหารการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไปทุกรายการ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
               8. ดำเนินการเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภค ทั้งของ สพป.และของโรงเรียน
               9. ดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรอิสลามของโรงเรียน
               10. ดำเนินการหักหนี้บุคคลที่สามของข้าราชการบำนาญ และเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบ e-pension (ระบบบำเหน็จบำนาญกรมบัญชีกลาง) ทั้งส่วนราชการผู้ขอและผู้เบิก
               11. ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการกลุ่ม (เฉพาะด้านรับเอกสาร)
               12. ดำเนินการแจ้งโอนเงินประจำงวดให้ผู้เกี่ยวข้องและโรงเรียนในสังกัด
               13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย





สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่

"ติวสอบดอทคอม"  www.tuewsob.com  หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ

 ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา


สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/

"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ

ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com โดย ผอ.นิกร เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา

ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ บน ยูทูป
ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ ฟรี บน ยูทูป

ติวสอบดอทคอม (เว็บติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม