หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567
ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ข้อสอบผู้บริหาร คู่ขนานสนามสอบจริง ปี 2562

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

ข้อสอบออนไลน์ ภาษาอังกฤษและการสร้างค่านิยม 12 ประการ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา อำนาจและหน้าที่บริหารกิจการของสถานศึกษาให้ป้นไปตามกฎหมาย















การบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา อำนาจและหน้าที่บริหารกิจการของสถานศึกษาให้ป้นไปตามกฎหมาย




อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
พระราชบัญญัติ ระเบียบราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 27 ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา และมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     (1) ควบคุม ดูแลให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา กำหนด
    (2) พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    (3) ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    (4) จัดทำมาตรฐาน ภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    (5) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
    (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษามอบหมาย
     มาตรา 29 การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาคระหว่างบุคคล และหลักการได้รับการปฏิบัติและคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
                   การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องอื่น ๆ จะกระทำมิได้
            มาตรา 84 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
           ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
          การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง


บทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

1. คณะกรรมการ
               1.1 คณะกรรมการสถานศึกษา  มีหน้าที่ส่งเสริม  สนับสนุน  ให้คำปรึกษา  และข้อเสนอแนะในการจัดการอาชีวศึกษา  และการฝึกอบรมวิชาชีพ  เพื่อพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานของวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา  และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา
1.2 คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา  มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหาร
สถานศึกษา โดยพิจารณาให้ความเห็น เสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
      1.   กำหนดเป้าหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสถานศึกษา
                2.   พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการ ประจำปี
3.         กำหนดแผนรับนักเรียน นักศึกษา การยุบ ขยายและเพิ่มประเภทวิชาสาขาวิชา
ที่เปิดสอนในสถานศึกษา
4.         เรื่องอื่น ๆ ที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถนศึกษา
5.         กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา

2. ผู้บริหารสถานศึกษา
2.1  ผู้อำนวยการสถานศึกษา  เป็นผู้บริหารสูงสุด สถานศึกษา  มีหน้าที่ และ
ความรับผิดชอบบังคับบัญชาบุคลากรในสถานศึกษา  บริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน  การควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหาร งานบุคคล
การบริหารทั่วไป งานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ คือ
1.         บังคับบัญชาบุคลากรในสถานศึกษา  มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของ
สถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
2.         วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและจัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจการ
ของสถานศึกษา
3.         จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนา
สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล
4.         ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ
นอกระบบ และตามอัธยาศัย
5.         จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา
6.         บริหารงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน
7.         วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้งการส่งเสริม
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  วินัย   การรักษาวินัย  การดำเนินการทางวินัย   การออกจากราชการ
การอุทธรณ์ และร้องทุกข์
8.         จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
ในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9.         ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10.    ระสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น ในการระดมทรัพยากร
เพื่อการศึกษาและให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน
11.    จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
12.    จัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
13.    เป็นผู้แทนของสถานศึกษาในกิจการทั่วไป รวมทั้งที่ได้รับมอบอำนาจ
สัญญาในราชการของสถานศึกษาตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาได้รับ ตามที่ได้รับมอบอำนาจ
14.    ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย
2.2     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา   มีหน้าที่  และความรับผิดชอบรองจากผู้อำนวยการ
สถานศึกษา  โดยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษาในการช่วยบริหารกิจกรรมของสถานศึกษา  การวางแผนปฏิบัติงาน  การควบคุม กำกับ ดูแล เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ  งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไปและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานจากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยช่วยปฏิบัติราชการในเรื่องต่อไปนี้ คือ
1.         บริหารกิจการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับนโยบายและ
วัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
2.         วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและรายงานผลการจัดการศึกษา
3.         จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาสื่อ
นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล
4.         ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ นอก
ระบบ และตามอัธยาศัย
5.         จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา
6.         การบริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินอื่น ๆ
7.         วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงาน วินัย  การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการ
8.         จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาใน
สถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9.         ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10.    ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการระดมทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและ
ให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน
                 11.  จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
                 12.  จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
                 13.  ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

 บทบาทหน้าที่ 
3. ครู อาจารย์ และบุคลากรอื่นๆ
3.1 ครูผู้ช่วย  มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนการส่งเสริม
การเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษาและมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้ คือ
                      1.  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                           2.  จัดอบรมสั่งสอนและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
                       3.  ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา
                       4.  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
                       5.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
3.2  ครู มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน  ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา  พัฒนาตนเองและวิชาชีพ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน และสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน  การบริการสังคมด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ  และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้ คือ
                        1.  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                    2. จัดอบรมสั่งสอน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
                    3.  ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา
                    4.  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
                    5.  ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนและสถานประกอยการเพื่อนร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
                    6.  ทำนุบำรุง ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
                    7.  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินพัฒนาการผู้เรียนเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                    8.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
3.3 พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว  มีหน้าที่ และความรับผู้รับผิดชอบ
ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ปฏิบัติ

 4. ผู้ปกครองและชุมชน
1.         ให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา
2.         ร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
3.         เสนอแนวคิดเพื่อการพัฒนางานของสถานศึกษา
4.         ดูแล เอาใจใส่นักเรียน นักศึกษาในปกครองในด้านการเรียน และความประพฤติ
5.         เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสถานศึกษา
6.         ร่วมพัฒนาปรับปรุงเพื่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษา




สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่

"ติวสอบดอทคอม"  www.tuewsob.com  หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ

 ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา


สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/

"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ

ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com โดย ผอ.นิกร เพ็งลี

หลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี การนิเทศ การวัดและประเมินผลการศึกษา













การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวรการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล

หลักสูตรปฐมวัย ที่
https://drive.google.com/file/d/0ByeVwALb1yssSkZJQWJCYWRUN2M/edit?usp=sharing

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่
https://drive.google.com/file/d/0ByeVwALb1yssdjh0d1E5MVFxVTQ/edit?usp=sharing

ตัวอย่างหลักสูตรสถานศึกษา ที่
https://sites.google.com/site/nganwichkarwbx/hold-xeksar

การจัดกระบวนการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  หมายถึง  การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (นคร พันธ์ณรงค์  อ้างอิงใน http://www.yupparaj.ac.th/education/topic203.doc) ซึ่งหลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีหลักการที่สำคัญดังนี้                     
1.1.   ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง   โดยการ 
1.1.1     แสวงหาข้อมูล 
1.1.2   ศึกษาทำความเข้าใจ
1.1.3   คิดวิเคราะห์
1.1.4  ตีความ
1.1.5  แปลความ
1.1.6  สร้างความหมายแก่ตนเอง
1.1.7  สังเคราะห์ข้อมูล
1.1.8  สรุปข้อความรู้
1.2  ให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด
1.3  ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิด  และประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
1.4     ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ "กระบวนการควบคู่ไปกับ "ผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้"
1.5  ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข  เป็นสภาพการจัดการเรียนรู้ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เป็นอิสระ ยอมรับความแตกต่างของบุคคล   มีความหลากหลายในวิธีการเรียนของผู้เรียน  และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน รักการเรียนรู้อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้  และ ต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งแนวทางจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข   มีแนวทางที่สำคัญคือ
1.         สิ่งที่เรียนต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว  มีความหมาย  สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของผู้เรียน บทเรียนควรจะเริ่มจากง่ายไปหายาก และมีความต่อเนื่องในเนื้อหาวิชา
2.         กิจกรรมการเรียนต้องมีความหลากหลาย   น่าสนใจ  เร้าใจที่จะปฏิบัติเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม  ได้ลงมือปฏิบัติ สัมผัสจับต้องด้วยตนเอง  และเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ตลอดจนพัฒนาทักษะชีวิตและสังคม
3.         สื่อการเรียนน่าสนใจ มีความหลากหลาย   ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำ การใช้ เป็นสื่อที่สามารถสร้างความเข้าใจได้ชัดเจน    สอดคล้องกับกิจกรรมและจุดประสงค์ที่กำหนด  จนผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด หรือสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
4.         การประเมินผล  ควรมุ่งเน้นการประเมินผลเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ไม่กดดันหรือสร้างความเครียด และควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง ประเมินซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ และเติมพลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
5.         ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน  ควรแสดงออกด้วยความรัก  ความเมตตา  มีความอาทรซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นในศักยภาพของกันและกัน เปิดโอกาสให้ได้แสดงความสามารถและพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตามแบบของตนเอง 
6.         ครูควรให้การเสริมแรงและสนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสุข เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าของตนเอง มีความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง บุคคลอื่นและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
7.         ครูไม่ควรใช้อำนาจกับผู้เรียน ไม่เข้มงวดจนผู้เรียนเกิดความเครียด  ซึ่งจะเป็นการสกัดกั้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการกล้าแสดงออกที่หลากหลายของผู้เรียน
สรุปได้ว่าการเรียนรู้อย่างมีความสุขนั้น  ครูผู้สอนจำเป็นต้องจัดให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งในระหว่างการเรียนรู้ และ หลังการเรียนรู้แล้ว การที่ครูจะจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขนั้น ที่สำคัญครูจะต้องมีความสุขในการจัดการเรียนรู้ด้วย  ยอมรับในความสำคัญของผู้เรียน พร้อมที่จะเปิดโอกาสที่เหมาะสมให้กับผู้เรียนทุกคน และ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ร่วมกันกับผู้เรียน ซึ่งครูและนักเรียนควรจะมีการปรับปรุงบทบาทของตนเองตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บทบาทครูและบทบาทผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
               1. บทบาทครู
1)        ศึกษามาตรฐานการศึกษา และ วิเคราะห์หลักสูตร
2)        วางแผนการสอน   กำหนดเป้าหมาย  และจุดประสงค์การเรียนรู้
      ร่วมกับผู้เรียน
3)        นำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเข้ามาใช้ในการสอน
4)        ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และการเรียนรู้อย่างมีความสุข ร่วมกับผู้เรียน
5)        เตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  สื่อการเรียนรู้
6)        ดูแลกระบวนการเรียนรู้  กระตุ้นให้ปฏิบัติ  ให้คำแนะนำ
7)        นำอภิปราย  ช่วยผู้เรียนประมวลสรุปข้อเรียนรู้
8)        เสริมความรู้   และ ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้
9)        วัดผล  ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
10)   บันทึกสรุปผลการสอน
11)   วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
               2. บทบาทผู้เรียน
1)        ร่วมกำหนดเป้าหมาย และ จุดประสงค์การเรียนรู้
2)        ร่วมวางแผน  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
3)        สร้างความรู้ด้วยตนเอง  โดยการแสวงหาข้อมูล  ศึกษาทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความสร้างความหมายแก่ตนเองสังเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อความรู้
4)        มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ 
5)        มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และเรียนรู้จากกันและกัน
6)        เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน / ข้อความรู้ที่สรุปได้
7)        นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จะเห็นได้ว่าบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น คือจะอยู่ในฐานะผู้คอยอำนวยความสะดวกโดยจัดสภาพแวดล้อมการเรียน บรรยากาศการเรียน วิธีการเรียนเรียนและสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอวของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้พัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง การเรียนรู้นั้น ๆ จึงจะเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน


การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ


 1. ความสำคัญของการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน                                                                                                                     จากการที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.. 2542   ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่เน้นการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ   ทั้งด้านการบริหาร   การจัดการเรียนการสอน   โดยมีจุดเน้นที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต   ได้เรียนตามความถนัดตามความสนใจ และได้รับการบริการด้านการศึกษาจากรัฐอย่างมีคุณภาพ   สำหรับในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนนั้น  ใน   พ... การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 กล่าวถึงไว้ในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา                                                                                                มาตรา  22  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้    และพัฒนา      ตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ                                                                                                                                                       มาตรา  23  การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษา         ตามอัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความ เหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้                                                                                                                                                              (1)  ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติและสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย        และระบบการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข                                                                      (2)  ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ  และประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน                                                                                                                                                                                                              (3)  ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ ใช้ภูมิปัญญา                                                                                                                                                                                                                 (4)  ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทย
อย่างถูกต้อง                                                                                                                                                                                                           (5)  ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
                             


- 2 -
                              มาตรา  24  การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้                                 (1)  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด           ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล                                                                                                                                               (2)  ฝึกทักษะกระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา                                                                                                                                                       (3)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้      คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง                                                                                                                                    (4)  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ  อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา                                                                                  (5)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ                                                                                                                                                                                        (6)  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่   มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ                                                                           สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  มีนโยบายที่จะปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน   ปฏิรูป    วิธีสอบ  เพื่อปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดการศึกษาวิชาชีพแบบบูรณาการในลักษณะต่าง ๆ  ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำคู่มือและแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการของแต่ละสถานศึกษา โดยในการดำเนินการจัดทำคู่มือและแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการครั้งนี้ จะได้รวบรวมจัดทำกรอบแนวคิด   แนวทาง  และขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  พร้อมทั้งตัวอย่างแผนการเรียนและแผนการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับครูอาจารย์ ผู้บริหาร ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของพระราชบัญญัติการศึกษาและนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป                                                                                                                   
                                                                                                                                                           



- 3 -
2.  วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ                                                                                                                      2.1  เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนของการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำ  คู่มือและแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ          การอาชีวศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ                            2.2  เพื่อพัฒนาให้ครู อาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา      ทุกแห่ง สามารถจัดแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเนื้อหา  วิชาต่าง ๆ  มาเพิ่มประสิทธิภาพการนำไปประกอบอาชีพตามต้องการ                                                                                          2.3    เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาวิชาชีพแบบองค์รวม มีความสามารถทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ  ทักษะในประกอบอาชีพได้ครบวงจรในแต่ละชั้นปีรวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรม        3.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ                                                                                                                                               ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ   หมายถึง  การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่าง ๆ  ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่าง ๆ  มาใช้ในการ        จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ  มาใช้ในชีวิตจริงได้                                              สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  สามารถนำความรู้  ทักษะ  และเจตคติไป   สร้างงาน  แก้ปัญหา  และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง                                                                                          เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ                                                                                                                 1.  สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ  ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยว ๆ  มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้  ทักษะจากหลาย ๆ  ศาสตร์   มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง                                                                                                                                                                                     2.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้  (Transfer  of  learning)  ของศาสตร์ต่าง ๆ     เข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้                                                                                                 3.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรจึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้ แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ ๆ  เพิ่มขึ้น                                                   4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลาย ๆ  ด้านของผู้เรียนช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบพหุปัญญา” (Multiple intelligence)                                                                    5.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน (Constructivism) ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน
- 4 -
                              ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ                                                                                                             นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ว่าเป็นการเชื่อมโยงวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น ได้แก่                                                                                                                                                                                                             1.  บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหา       สาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสม                                                                  2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ  การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียน  ต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย  ดังนั้น  การให้ความสำคัญแก่เจตคติ  ค่านิยม  ความสนใจและสุนทรียภาพ           แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี                                                                                                                                                                                                                                3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำการเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก  ดังนั้น  การให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง                                                                                                                                               4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน  การตระหนักถึงความ  สำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง                                          5. บูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความรู้  เจตคติและการกระทำที่เหมาะสม กับความต้องการ  ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน               4. แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                                                   แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญมีแนวคิดมาจากปรัชญา Constructivism     ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้เดิมที่มีอยู่ เป็นปรัชญาที่มีข้อสันนิษฐานว่าความรู้ไม่สามารถแยกจากความ    อยากรู้ ความรู้ได้มาจากการสร้างเพื่ออธิบาย (Martin etal.,1994:44)                                                                                      แนวคิด Constructivism เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองโดยผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) ของผู้เรียนได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ให้ผู้เรียน  ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสบการณ์ใหม่ไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม ผู้เรียนพยายามปรับข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมแล้วสร้างเป็นความรู้ใหม่
                                                                                                                                                                                                  
- 5 -
แนวทางของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                                                    แนวทางของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียน          ใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเองและฝึกฝนให้ใช้กระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มอย่างชำนาญ                                                           1.  กระบวนการคิด เป็นการคิดได้ครบถ้วนตามขั้นตอน โดยเริ่มต้นจาก                                                                                    1.1  ระดับการคิดขั้นพื้นฐานหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่          การสังเกต การจำแนก การสื่อความหมาย การคาดคะเน การรวบรวมข้อมูล การสรุปผล เป็นต้น                                                                                                   1.2  ระดับของลักษณะการคิด  ได้แก่ การคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น                                                                                                                                                                                              1.3  ระดับกระบวนการคิด  ได้แก่  กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการแก้ปัญหา  กระบวนการคิดสร้างสรรค์  และกระบวนการวิจัย  เป็นต้น                                                                                     สำหรับวิธีการสอนที่ใช้เพื่อให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดในการสร้างความรู้   เช่น   วิธีสืบสอบแบบแนะนำ (Guided Inquiry)  และแบบไม่มีการแนะนำ (Unguided Inquiry)  วิธีการค้นพบ  วิธีแบบเน้นปัญหา วิธีใช้ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น กรณีศึกษา สถานการณ์จำลอง วิธีอริยสัจสี่ วิธีการเชื่อมโยงมโนทัศน์โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Map) การใช้ผังมโนทัศน์ (Concept   Map)                                                                                                                                 2. กระบวนการกลุ่ม เป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ใช้กลุ่มเพื่อร่วมกันสร้างความรู้โดยประสานความร่วมมือ ประสานความคิด ทำงานร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมาย การทำงานกลุ่มควรต้องเป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือ หัวหน้าดี สมาชิกดี  และกระบวนการทำงานดี  วิธีสอนที่ใช้เพื่อให้ผู้เรียนใช้ทั้งกระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มก็คือวิธีการสอนที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแต่เป็นการเรียนรู้แบบเป็นกลุ่ม หรือใช้วิธีสอนกลุ่มสัมพันธ์ วิธีการอภิปราย วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เป็นต้น                                                                ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นมีดังนี้                                                                                               1.  ผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้เอง  (Construct)                                                                            2.  ผู้สอนใช้ทักษะกระบวนการ  (Process Skill)  คือ  กระบวนการคิด                  (Thinking Process)  และกระบวนการกลุ่ม  (Group Process)  เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง                                                                     3.  ผู้สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริง (Participation) ลงมือคิด ปฏิบัติ สรุปความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์  (Interaction)  ทั้งสมาชิกในกลุ่มและสมาชิกระหว่างกลุ่มและปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน                                                                                                                                                                              4.  ผู้สอนสร้างบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งบรรยากาศทางกายภาพและจิตใจเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข  (Happy Learning)                                                                                                                                                         5.  ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลทั้งทักษะกระบวนการ และเนื้อหาสาระซึ่งเป็นการประเมินตามสภาพจริง  (Authentic assessment)                                                                                                                                                        6.  ผู้สอนพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  (Application)                                                   7.  ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)                                 
- 6 -
5.  การประเมินตามสภาพจริง                                                                                                                                                                     การประเมิน (Assessment) หมายถึง  กระบวนการที่ใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือการเรียนรู้ของผู้เรียนและดำเนินการตัดสินคุณค่าความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะอธิบายลักษณะผู้เรียนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ                                                                                                                           การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง การวัดและประเมินกระบวนการทำงานของสมองและจิตใจอย่างตรงไปตรงมาตามสิ่งที่เขาทำ โดยพยายามตอบคำถามว่าเขาทำอย่างไร ทำไมจึงทำเช่นนั้น (อุทุมพร จามรมาน)                                                                                                                                                               การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง กระบวนการสังเกต บันทึกและรวบรวมข้อมูลจากผลงานหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนทำ เพื่อตัดสินความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนโดยใช้  ข้อมูล 3 ด้านได้แก่ 1. Performance of Learning  2. Process of Learning  3. Product of Learning                                               การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง การประเมินผลเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในสภาพที่เป็นจริง ทั้งด้านความรู้ ความคิด พฤติกรรม วิธีการปฏิบัติและผลการปฏิบัติของผู้เรียน                        การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึกและรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่ผู้เรียนทำ โดยไม่เน้นการประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงานของผู้เรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติงานในสภาพจริงที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบ ผู้ผลิตความรู้ ผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อสนองความต้องการของสังคม ซึ่งจะประเมินจากสภาพที่เป็นจริงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้ ซึ่งจะต่างจากการประเมินผลการเรียนรู้ทั่วไปที่วัดผลความรู้ด้านเนื้อหาวิชาหรือผลผลิต แล้วจัด  ลำดับที่                                                                                                                                                                                                               ลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริง                                                                                                  การประเมินตามสภาพจริงนั้นจะมีลักษณะเด่นที่เน้นการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนและประสิทธิภาพการเรียนรู้ การทดสอบเหล่านี้จะครอบคลุมสภาพจริงและสอดคล้องกับการแสดงออกของผู้เรียนทั้งกระบวนการและผลผลิต โดยจะประเมินในลักษณะการทำเป็นโครงการ การบันทึกความเห็น แบบสำรวจ รายงาน นิทรรศการที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และวิชาชีพ ซึ่งควรมีลักษณะสำคัญๆ  ดังนี้                                                                                                                                   1.  เป็นการประเมินที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์จริงหรือที่เป็นชีวิตจริง                                                  2.  การประเมินจะทำไปพร้อมๆ กับกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกสถานการณ์                                3.  เน้นพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงออกมาจริง ๆ                                                                        4.  เน้นการประเมินตนเองของผู้เรียน                                                                                                                   5.  เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครอง                                                                                   
- 7 -
                                             6.  มีการใช้ข้อมูลหลากหลายรวมทั้งใช้เครื่องมือที่หลากหลาย โดยเก็บข้อมูลระหว่างการปฏิบัติงานในทุกด้านทั้งกระบวนการคิดระดับสูง กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการประเมินผล เป็นต้น                                                                                                                                                                                       7.  ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก มีการชื่นชม ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข                                                                                                                                                           การประเมินผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ                                                                                            การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติจริงตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง เรียนรู้ทั้งแบบเรียนคนเดียวและเรียนเป็นกลุ่มจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองและเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (บูรณาการ) ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ดังกล่าวจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริง นั่นคือการที่จะต้องนำลักษณะที่สำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริงมาใช้จึงจะเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งน่าจะมีการประเมินความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ การประเมินด้านกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ (การวิจัยอย่างง่าย) กระบวนการกลุ่ม กระบวนการประเมินผล คุณธรรมจริยธรรม ความตั้งใจ ความใส่ใจ คุณภาพของผลงานโดยใช้วิธีการ เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย ต่อเนื่องตลอดเวลาตามกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการสังเกตใช้แบบตรวจสอบรายการ ใช้แบบประมาณค่า การบันทึกการปฏิบัติงาน การประเมินคุณภาพชิ้นงานและอาจมีการประเมินด้านความรู้ควบคู่กันไปด้วย โดยการประเมินจะกระทำร่วมกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งผลการประเมินเหล่านี้ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย

 สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี

 
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา  (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยาหมายถึง  ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษาครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ  3  ประการ คือ  วัสดุ  อุปกรณ์  และวิธีการ  (boonpan edt01.htm)  
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ  เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น 
J    เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็นหลัก  จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์  เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจากความคิด
รวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น  2  ประการคือ
          1.   ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ  ตามความคิดรวบยอดนี้  เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง  การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ  ในรูปของสิ่งประดิษฐ์  เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ  มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่การใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน  มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้  โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
          ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา  ตามความคิดรวบยอดนี้  ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป  คือมีเพียงวัสดุ  และอุปกรณ์เท่านั้น  ไม่รวมวิธีการ  หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย  ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ  "โสตทัศนศึกษานั่นเอง
          2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์  เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา  มนุษย์วิทยา กระบวนการกลุ่ม  ภาษา การสื่อความหมาย  การบริหาร  เครื่องยนต์กลไก  การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม  เพื่อให้ผู้เรียน  เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น  แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย  มิใช่วัสดุ  หรืออุปกรณ์  แต่เพียงอย่างเดียว

J    เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา        
  1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
              1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
              1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
              1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
              1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
         2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิดแบบเรียนโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่างจะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
          3.  การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
          4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์หรือใช้ร่วมกับกระบวนการทางจิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป  ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่  เปลี่ยนแปลงเวลา  เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้  เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม  ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้  ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น  เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไปแต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง  เทคโนโลยีนั้น ๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน  หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)   
ทอมัส  ฮิวซ์  (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13)  ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว  โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)  ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)   แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา"
 มอตัน   (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13)   กล่าวว่า นวัตกรรม  หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal)  ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ  นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป  แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ"
 ไชยยศ เรืองสุวรรณ  (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13)   กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง  วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม  โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น"
 ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า  "นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม  หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ  แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม"

J    นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ
               J     ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
 นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์ Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้นการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
J    แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา     
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
          1.  ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น             
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - เครื่องสอน (Teaching Machine)
              - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)         
 2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
              - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)          
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น            
  - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
              - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - การเรียนทางไปรษณีย์          
 4. ระสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น              
- มหาวิทยาลัยเปิด
              - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
              - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
              - ชุดการเรียน
J    เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม
เพื่อที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการที่นำมาใช้ในกระบวนการใด ๆ นั้น จะเรียกว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37 ได้กล่าวถึง) เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ
1) เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม
2) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ
3) มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี
J    การปฏิเสธนวัตกรรม
เมื่อมีผู้ค้นคิดหานวัตกรรมมาใช้ไม่ว่าในวงการใดก็ตาม มักจะได้รับการต่อต้านหรือ การปฏิเสธ ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ลัทธิการปกครอง หรือวิธีการสอนใหม่ ๆ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกันดังนี้
1) ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ที่ ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้น ๆ บุคคลผู้นั้นก็มักที่จะยืนยันในการใช้วิธีการนั้น ๆ ต่อไปโดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2) ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม แม้บุคคลผู้นั้นจะทราบข่าวสารของ นวัตกรรมนั้น ๆ ในแง่ของประสิทธิภาพว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีก็ตาม การที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทดลองใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ก็ย่อมทำให้ไม่แน่ใจว่านวัตกรรมนั้น ๆ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
3) ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่โดยมากแล้วบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้น ๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะแสวงหานวัตกรรมมาใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ไม่พอเพียงก็จะรู้สึกท้อถอยและปฏิเสธในการที่จะนำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการเรียนการสอนในชั้นของตน
4) ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมมักจะต้องนำเอาเทคโนโลยี สมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนั้นค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมจึงดูว่ามีราคาแพง ในสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป จึงไม่สามารถที่จะรองรับต่อค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมนั้น ๆ แม้จะมองเห็นว่าจะช่วยให้การดำเนินการ โดยเฉพาะการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจริง ดังนั้นจะเป็นได้ว่าปัญหาด้านงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิเสธนวัตกรรม


J    การยอมรับนวัตกรรม
 ดังกล่าวมาแล้วว่าบุคคลจะปฏิเสธนวัตกรรมเนื่องด้วยสาเหตุหลัก 4 ประการคือ ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมความรู้ของบุคคลว่านวัตกรรมและข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ ดังนั้นในการที่จะกระตุ้นให้บุคคลยอมรับนวัตกรรมนั้น ๆ ต้องแก้ไขปัญหาหลักทั้ง 4 ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
 เอเวอร์เรต เอ็ม โรเจอร์ (Everretle M.Rogers อ้างในณรงค์ สมพงษ์, 2530:6) กล่าวถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมว่าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ
1) ขั้นตื่นตัว (Awareness) ในขั้นนี้เป็นขั้นของการที่ผู้รับได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้น ๆ
2) ขั้นสนใจ (Interest) เป็นขั้นที่ผู้รับนวัตกรรมเกิดความสนใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่ ก็จะเริ่มหาข้อมูล
3) ขั้นไตร่ตรอง (Evaluation) ผู้รับจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าจะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาของตนได้จริงหรือไม่
4) ขั้นทดลอง (Trial) เมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของตนได้ ผู้รับก็จะนำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาทดลองใช้
5) ขั้นยอมรับ (Adoption) เมื่อทดลองใช้นวัตกรรมดังกล่าว แล้วหากได้ผลเป็นที่พอใจ นวัตกรรมดังกล่าวก็จะเป็นที่ยอมรับนำมาใช้เป็นการถาวรหรือจนกว่าจะเห็นว่าด้อยประสิทธิภาพ หากไม่เกิดประสิทธิภาพนวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลนั้นอีกต่อไป เมื่อพิจารณากระบวนการยอมรับนวัตกรรมของโรเจอร์แล้ว เปรียบเทียบกับสาเหตุหลัก 4 ประการของการปฏิเสธนวัตกรรมจะเห็นได้ว่าสาเหตุหลัก 3 ประการแรก คือ ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม และความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม จะสอดคล้องกับกระบวนการยอมรับนวัตกรรม คือ จะทำอย่างไรจึงจะให้บุคคลนั้น ๆ มีความรู้ในนวัตกรรม ซึ่งเป็นขั้นตื่นตัว (Awareness) เกิดความสนใจ (Interest) ศึกษาหาข้อมูล นำเอาข้อมูลมาไตร่ตรอง (Evaluation) แล้วจึงนำเอาไปทดลอง (Trail) ก่อนที่จะถึงขึ้นสุดท้ายก็คือขั้นของการยอมรับ (Adoption) ในส่วนของปัญหาหลักข้อสุดท้ายก็คือข้อจำกัดทางด้านงบประมาณนั้น เป็นการสอนแบบร่วมมือประสานใจ ที่อาศัยกระบวนการเป็นองค์ประกอบหลัก เน้นการสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Cooperative Learning) การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา หรือการเรียนรู้แบบค้นพบ ก็คงจะแก้ไขปัญหาหลักข้อสุดท้ายได้
นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
J    นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
J    นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2.  หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4.  หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น  เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น  แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
J    นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา  การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน
ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ


J     นวัตกรรมสื่อการสอน
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การนิเทศ  ที่

การวัดและประเมินผลการศึกษา  ที่





สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่

"ติวสอบดอทคอม"  www.tuewsob.com  หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ

 ติวสอบดอทคอม


สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/

"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ

ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com โดย ผอ.นิกร เพ็งลี

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา

ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ บน ยูทูป
ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ ฟรี บน ยูทูป

ติวสอบดอทคอม (เว็บติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม