หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567
ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ข้อสอบผู้บริหาร คู่ขนานสนามสอบจริง ปี 2562

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

ข้อสอบออนไลน์ ภาษาอังกฤษและการสร้างค่านิยม 12 ประการ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา




การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา


นิยามศัพท์
               การควบคุมภายใน  หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับ ดูแล ฝ่ายบริหาร และบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 3 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของหน่วยงาน ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยงานรับตรวจ  ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานการเงิน  และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย   ระเบียบ   ข้อบังคับ   และมติคณะรัฐมนตรี
               ผู้กำกับการดูแล  หมายความว่า  บุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล หรือบังคับบัญชาผู้รับตรวจหรือหน่วยรับตรวจ
               ผู้รับตรวจ  หมายความว่า  หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้บริหารองค์กร ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ หรือการบริหารของหน่วยรับตรวจ
               หน่วยรับตรวจ  หมายความว่า 
(1)     กระทรวง   ทบวง   กรม    และส่วนราชการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีฐานะเป็น
กระทรวง   ทบวง  หรือกรม
(2)     หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค
(3)     หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น
(4)     รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือตามกฎหมายอื่น
(5)     หน่วยงานอื่นของรัฐ
(6)     หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุน หรือกิจการที่ได้รับเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วย
รับตรวจตาม  (1)  (2)  (3)  (4) หรือ  (5)
(7)     หน่วยงานอื่นใดหรือกิจการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้สำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ

                                                                                          3

ฝ่ายบริหาร  หมายความว่า  ผู้รับตรวจ หรือผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงานรับตรวจ
               ผู้ตรวจสอบภายใน  หมายความว่า  ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานรับตรวจ หรือดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานรับตรวจ   หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ
ผู้ตรวจสอบภายใน
               รายงานประจำปี  หมายความว่า  รายงานการควบคุมภายในที่ผู้รับตรวจต้องรายงานต่อผู้กำกับดูแล คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน โดยมีรายละเอียดประกอบการรายงาน ดังนี้
(1)            ทำความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในหน่วยรับตรวจที่ใช้อยู่มีมาตรฐานตามระเบียบนี้ หรือไม่
(2)     รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน   ในการ
บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน  ประกอบด้วย
(ก)    สภาพแวดล้อมของการควบคุม
(ข)    การประเมินความเสี่ยง
(ค)    กิจกรมการควบคุม
(ง)     สารสนเทศและการสื่อสาร
(จ)    การติดตามประเมินผล
(3)     จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายใน   พร้อมข้อเสนอแนะ   และแผนการปรับปรุงระบบ
การควบคุมภายใน
               ระดับส่วนงานย่อย     หมายความว่า    หน่วยงานที่เป็นสาขาย่อยของระดับหน่วยรับตรวจ   เช่น
ระดับหน่วยรับตรวจ คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสถานศึกษา ฉะนั้นระดับส่วนงานย่อย คือ กลุ่มต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา   และงานต่าง ๆ  ในสถานศึกษา
4. องค์ประกอบมาตรฐานการควบคุมภายใน
               องค์ประกอบมาตรฐานที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในตามระเบียบ ฯ  มี   5   เรื่อง   คือ
                     4.1. สภาพแวดล้อมการควบคุม  ( Control  Environment )  
ตามมาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน   เรื่องแรก   เกี่ยวกับ
สภาพแวดล้อมการควบคุม ระบุว่า    ผู้กำกับดูแล   ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยงานรับตรวจต้องสร้างบรรยากาศของการควบคุมเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมภายใน     โดยส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานเกิดจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ และตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการควบคุมภายในรวมทั้งดำรงรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดี 
4


                              การบรรลุตามเป้าหมายนี้มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้บริหารระดับส่วนงานย่อย และผู้ประเมินผลควรพิจารณาแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมของการควบคุมเพื่อประเมินว่า สภาพ แวดล้อมของการควบคุมภายในเป็นไปในทางที่ดี ที่จะเอื้ออำนวยต่อความสำเร็จของการควบคุมภายในหรือไม่  ปัจจัยที่ควรพิจารณาปรากฏตามข้อความใน ช่องจุดที่ควรประเมิน   ภายใต้หัวข้อ สภาพแวดล้อมของการควบคุม   ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยเบื้องต้นและอาจไม่ครบถ้วน     และบางปัจจัยอาจไม่สามารถใช้กับทุกหน่วยงานหรือทุกกิจกรรมในหน่วยงานนั้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าบางปัจจัยจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและการตัดสินใจ แต่ปัจจัยดังกล่าวมีความสำคัญที่จะทำให้บรรลุถึงความมีประสิทธิผลของสภาพแวดล้อมของการควบคุม
                    4.2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
                              มาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่สอง  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงระบุว่า ฝ่ายบริหารต้องประเมินความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม
                              วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้ เพื่อทราบกระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยงว่าเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ เงื่อนไขสำคัญก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง คือการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนทั้งในระดับองค์กรและระดับกิจกรรม เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นแล้ว  หน่วยงานจำเป็นต้องระบุความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นทั้งในระดับองค์กรและระดับกิจกรรม การประเมินความเสี่ยงควรพิจารณาทั้งความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกหน่วยงาน เมื่อมีการระบุความเสี่ยงแล้วควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงนั้น หลังจากนั้นผู้บริหารควรกำหนดวิธีการบริหารความเสี่ยง และตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมควบคุมภายในที่จำเป็นเพื่อลดหรือบรรเทาความเสี่ยงเหล่านั้น  และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการดำเนินงาน รายงานการเงินและการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือ   การปฏิบัติที่เป็นไปตามกฎหมาย   และระเบียบข้อบังคับ
                    4.3.  กิจกรรมการควบคุม  ( Control  Activities )
                              มาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่สาม  ซึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมควบคุมระบุว่า ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหาย ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในสำหรับ กิจกรรมการควบคุมในเบื้องต้นจะต้องแบ่งแยกหน้าที่งานภายในหน่วยงานอย่างเหมาะสม   ไม่มอบหมายให้บุคคลใด


                                                                                          5

บุคคลหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานที่สำคัญ   หรืองานที่เสี่ยงต่อความเสียหายตั้งแต่ต้นจนจบ  แต่ถ้ามีความจำเป็นให้กำหนดกิจกรรมการควบคุมอื่นที่เหมาะสมทดแทน  ”
                              วัตถุประสงค์ที่สำคัญของมาตรฐานข้อนี้  เพื่อการพิจารณาว่าหน่วยงานมีกิจกรรมการควบคุมที่เหมาะสมเพียงพอและมีประสิทธิผลหรือไม่ กิจกรรมการควบคุม ได้แก่ นโยบาย  วิธีปฏิบัติ  เทคนิค  และกลไกต่างๆ   ที่ช่วยให้ความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามที่ฝ่ายบริหารสั่งการเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง  กิจกรรมการควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนขององค์กร  การปฏิบัติตามแผน   และการสอบทานงาน  ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความรับผิดชอบในการดูแลการใช้ทรัพยากรของรัฐให้เป็นไปอย่างเหมาะสม   และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
                              กิจกรรมการควบคุมมีอยู่ในทุกระดับและทุกส่วนงานขององค์กร ตัวอย่างกิจกรรมการควบคุม เช่น นโยบาย  ระเบียบปฏิบัติ  การอนุมัติ การมอบอำนาจ การตรวจสอบความถูกต้อง  การสอบยันความถูกต้อง การสอบทานผลการดำเนินงาน การรักษาความปลอดภัย การจำกัดการเข้าถึงทรัพยากร  การแบ่งแยกหน้าที่การงาน เป็นต้น
                              ผู้บริหารระดับส่วนงานย่อย หรือผู้ประเมินควรมุ่งเน้นกิจกรรมการควบคุมโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของการสั่งการของผู้บริหาร เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ของแต่ละกิจกรรม  ( หรือโครงการ หรือภารกิจ ) ที่สำคัญ     ดังนั้นผู้บริหารระดับส่วนงานย่อยหรือผู้ประเมิน ควรพิจารณาว่า กิจกรรมการควบคุมสอดคล้องกับกระบวนการประเมินความเสี่ยงหรือไม่ และการสั่งการของผู้บริหารได้รับการปฏิบัติตามหรือไม่  ในการประเมินความเพียงพอของกิจกรรมการควบคุมภายใน ผู้ประเมินควรพิจารณาว่า กิจกรรมการควบคุมที่มีอยู่มีความเหมาะสม มีจำนวนกิจกรรมการควบคุม เพียงพอ และมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล การประเมินดังกล่าวควรดำเนินการในแต่ละกิจกรรมที่สำคัญ  การวิเคราะห์และการประเมินควรครอบคลุมถึงการควบคุมระบบสารสนเทศด้วย  ผู้บริหารระดับส่วนงานย่อย  หรือผู้ประเมินไม่เพียงแต่พิจารณาว่ากิจกรรมการควบคุมที่มีความสอดคล้องกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงหรือไม่เท่านั้น  แต่ควรพิจารณาด้วยว่ากิจกรรมการควบคุมดังกล่าวได้นำไปใช้อย่างถูกต้อง หรือไม่
                              กิจกรรมการควบคุมที่มีในองค์กรต่าง ๆ อาจแตกต่างกัน  ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ  เช่น
(1)  ความแตกต่างของพันธกิจ  เป้าหมาย  และวัตถุประสงค์
                                             (2)  ความแตกต่างของสภาพแวดล้อม  ขนาด และลักษณะการดำเนินงาน ตลอดจนจำนวนค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้
                                             (3)  ความแตกต่างของระดับความซับซ้อนขององค์กร
                            (4)  ความแตกต่างของความเป็นมาและวัฒนธรรมขององค์กรและ
 (5)  ความแตกต่างของความเสี่ยงซึ่งองค์กรเผชิญอยู่และพยายามลดความเสี่ยงนั้น

                                                                                          6

ปัจจัยต่าง  ๆ  ดังกล่าวมีผลต่อกิจกรรมการควบคุมภายในขององค์กร    อาจเป็นไปได้ว่า แม้
สององค์กรจะมีภารกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ และโครงสร้างองค์กรที่เหมือนกัน แต่อาจมีกิจกรรมการควบคุมที่แตกต่างกัน    เนื่องจากการใช้ดุลยพินิจ     การปฏิบัติงาน     และการบริหารจัดการที่แตกต่างกันของแต่ละหน่วยงาน    ดังนั้นรูปแบบการควบคุมภายในจึงมีความแตกต่างหลากหลายเป็นพัน ๆ   รูปแบบ  แต่ละรูปแบบจึงเหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมการควบคุมจึงควรสอดคล้องกับพันธกิจ เป้าหมาย   หรือเป้าประสงค์ขององค์กรเพื่อช่วยให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
     4.4. สารสนเทศและการสื่อสาร  ( Information  and  Communications )
                              ตามมาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่สี่ ซึ่งเกี่ยวกับสารสนเทศการสื่อสารระบุว่า 
“  ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีสารสนเทศอย่างเพียงพอและสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคคลอื่น ๆ  อย่างเหมาะสมทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน  ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศนั้นในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา  
                              วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้เพื่อให้ผู้ประเมินพิจารณาความเหมาะสมของระบบสารสนเทศและการสื่อสาร    ต่อความต้องการของผู้ใช้และการบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน การดำเนินงานการควบคุมภายในที่ถูกต้องเชื่อถือได้  และเกี่ยวข้องทั้งด้านการเงิน และด้านการดำเนินงาน  ข้อมูลเหล่านี้   ควรมีการบันทึกและสื่อสารไปยังฝ่ายบริหารและพนักงานอื่นในองค์กรซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในรูปแบบที่เหมาะสมและทันกาล  นอกจากนี้การสื่อสารควรครอบคลุมไปทั่วทั้งองค์กร และใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อให้ความมั่นใจได้ว่าการสื่อสารนั้นเป็นประโยชน์   น่าเชื่อถือ   และมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
                         ผู้บริหารระดับส่วนงานย่อยและผู้ประเมิน ควรพิจารณาความเหมาะสมของระบบสารสนเทศ  และระบบการสื่อสารขององค์กรว่าเป็นไปตามความต้องการขององค์กรและบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการควบคุมภายในด้วย
    4.5. การติดตามประเมินผล  ( Monitoring )
                              มาตรฐานการควบคุมภายในเรื่องที่ห้า  ซึ่งเป็นมาตรฐานสุดท้ายของการควบคุมภายในเป็นเรื่องเกี่ยวกับการติดตามประเมินผล ซึ่งระบุว่า ในการดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามประเมินผล ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผล  โดยการติดตามผลในระหว่างการปฏิบัติงาน  และการประเมินผลเป็นรายครั้งอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า
                              -  ระบบการควบคุมภายในที่วางไว้เพียงพอ  เหมาะสม  มีประสิทธิภาพและมีการปฏิบัติจริง
                              -   การควบคุมภายในดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล
                              ข้อตรวจพบจากการตรวจสอบและการสอบทานอื่น  ๆ    ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันเวลา

                                                                                          7

                              -  การควบคุมภายในได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
                              มาตรฐานข้อนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประเมินพิจารณาความเหมาะสมของระบบการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงาน อันจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน  ในการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในควรเป็นการประเมินคุณภาพของผลการดำเนินงานในรอบ  ระยะเวลาที่กำหนด  เพื่อให้ความมั่นใจว่าข้อตรวจพบจากการตรวจสอบและการสอบทานอื่นได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างทันกาล  การติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประกอบด้วย  1) การติดตามผลในระหว่างปฏิบัติงาน
( Ongoing Monitoring Activities ) และ 2 ) การประเมินระบบการควบคุมภายในเป็นรายครั้ง ( Separated Evaluations  of  Internal  System )
                              การติดตามผลระหว่างปฏิบัติงานเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานตามปกติ    ซึ่งรวมถึง
กิจกรรมการบริหารงาน  การควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน   การเปรียบเทียบ  การสอบยัน  และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ประจำของพนักงาน และยังรวมถึงการทำให้แน่ใจว่าผู้บริหารและหัวหน้างานเข้าใจความรับผิดชอบของตนต่อการควบคุมภายในและเข้าใจความจำเป็นที่ต้องมีการควบคุมภายในและการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ
                              การประเมินเป็นรายครั้ง เป็นการประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในของหน่วยงาน ณ  เวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด  การประเมินอาจเป็นในรูปแบบการประเมินการควบคุมภายในด้วยตนเอง
( Self – Assessments )   นอกจากนี้การติดตามประเมินผลยังรวมถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติเพื่อความมั่นใจว่าข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบและการสอบทานได้รับความสนใจจากฝ่ายบริหารและมีการปรับปรุงแก้ไขทันที

การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน   ตามระเบียบ ฯ  ข้อ 6

               การจัดทำรายงานตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน  พ.ศ. 2544  ข้อ  6  มีรายละเอียดดังนี้

1.  การรายงานการควบคุมภายใน
               ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน  พ.ศ. 2544  ข้อ  6  ระบุว่า ให้ผู้รับตรวจรายงานต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ผู้กำกับดูแล  และคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน  อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง  ภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ    หรือ  ปีปฏิทิน  แล้วแต่กรณี  เว้นแต่การรายงานครั้งแรกให้กระทำภายในสองร้อยสี่สิบวันนับจากวันวางระบบการควบคุมภายในแล้วเสร็จ  โดยมีรายละเอียด  ดังนี้
               ( 1 )  ทำความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ  ที่ใช้อยู่มีมาตรฐานตามระเบียบนี้หรือไม่
               ( 2 )  รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน  ในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด  รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน  ประกอบด้วย
                              ( ก )  สภาพแวดล้อมของการควบคุม
                              ( ข )  การประเมินความเสี่ยง
                              ( ค )  กิจกรรมการควบคุม
                              ( ง )  สารสนเทศและการสื่อสาร
                              ( จ )  การติดตามประเมินผล
               ( 3 )  จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายใน  พร้อมข้อเสนอแนะและแผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน
การรายงานตามระเบียบ ฯ  ข้อ 6   ให้รายงานภายใน  90  วัน  นับจากวันที่  30  กันยายน  หรือวันที่  31  ธันวาคม  ของทุกปีแล้วแต่กรณี  สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก  เขต 1 กำหนดให้ส่งรายงานภายในวันที่  30  ธันวาคม  ของทุกปี




9

2.  ขั้นตอนการติดตามประเมินผล
            2.1  ส่วนงานย่อย  ( กลุ่ม / งาน )
                        ขั้นตอนที่ 1
-            นำแบบ  ปย.2  ( ปีงบประมาณที่แล้ว ) มาติดตามผลการดำเนินงานว่าได้ดำเนินการ
ตามแผนการปรับปรุงหรือไม่  อย่างไร  แล้วสรุปผลการดำเนินงานลงในแบบติดตาม ปย.2
                        ขั้นตอนที่ 2
ประเมินองค์ประกอบมาตรฐานการควบคุมภายใน ( 5 องค์ประกอบ)ในระดับส่วนงานย่อย 
แล้วสรุปลงในแบบ  ปย. 1
                       ขั้นตอนที่ 3
                              -   ประเมินการควบคุมภายในด้วยตนเอง  ( CSA )  ตามกิจกรรม / งาน   ที่ดำเนินการของ
ส่วนงานย่อย   เช่น  ค้นหาจุดอ่อนหรือความเสี่ยงใหม่   โดยการประชุมผู้เกี่ยวข้อง   หรือศึกษาจากเอกสาร หรือใช้แบบสอบถามการควบคุมภายในของ คตง.    หรือใช้วิธีการอื่น ๆ แล้วสรุปจุดอ่อนทั้งหมดในกระดาษ
ธรรมดา
                         ขั้นตอนที่ 4
                              เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-3 เรียบร้อยแล้ว ให้นำกิจกรรม / งาน ที่มีความเสี่ยงหลงเหลืออยู่ตามข้อ 1 และกิจกรรม / งาน  ที่เป็นความเสี่ยงที่พบใหม่ตามข้อ 2 และ 3 มาหามาตรการ / แนวทางการปรับปรุง  แล้วกำหนดผู้รับผิดชอบและระยะเวลาที่ดำเนินการเสร็จแล้วสรุปลงในแบบ  ปย.2
            ขั้นตอนที่ 5
จัดส่งแบบ  ปย.1  และแบบ  ปย.2  ให้ผู้รับผิดชอบระดับหน่วยรับตรวจ  ( กลุ่มอำนวยการ)
2.2  หน่วยรับตรวจ  ( สพป. / สถานศึกษา )
                           ขั้นตอนที่ 1
-            แต่งตั้งคณะทำงาน / กรรมการ  ติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน
                           ขั้นตอนที่ 2
-            นำแบบ  ปอ.3  ( ปีงบประมาณที่แล้ว ) มาติดตามผลการดำเนินงานว่าได้ดำเนินการ
ตามแผนการปรับปรุงหรือไม่  อย่างไร  แล้วสรุปผลการดำเนินงานลงในแบบติดตาม ปอ.3
                          ขั้นตอนที่ 3
                              -   ประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน   ( 5 องค์ประกอบ )  ในระดับหน่วยรับตรวจ    แล้วสรุปลงในแบบ  ปอ.2

10

               ขั้นตอนที่ 4
                              เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-3 เรียบร้อยแล้ว ให้นำกิจกรรม / งาน ที่มีความเสี่ยงหลงเหลืออยู่ตามข้อ 2 และกิจกรรม / งาน  ที่เป็นความเสี่ยงที่พบใหม่ตามข้อ 3 และแบบ  ปย.2 ของกลุ่ม / งาน  ที่ส่งมาให้คณะทำงาน / กรรมการ ที่แต่งตั้งพิจารณากิจกรรม / งานที่เป็นความเสี่ยงในระดับหน่วยรับตรวจ  แล้วสรุปลงในแบบ  ปอ.3
ขั้นตอนที่ 5
-            นำกิจกรรม / งาน  ในแบบ  ปอ.3  มาสรุปลงในในแบบ  ปอ.1
 ขั้นตอนที่ 6
-            ส่งสำเนาแบบ  ปอ.1 , แบบ  ปอ.2 , แบบ  ปอ.3 และแบบติดตาม  ปอ.3  ให้หัวหน้า
หน่วยตรวจสอบภายในของ  สพป. สอบทานการประเมินผลดังกล่าว  แล้วหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในสรุปผลการสอบทานลงในแบบ  ปส.
ขั้นตอนที่ 7
-            เมื่อหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในสอบทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ให้นำแบบรายงาน
ดังกล่าวเสนอ ผอ.สพป.ตาก เขต 1  พิจารณาลงนาม
ขั้นตอนที่ 8
-            สพป.ตาก เขต 1  จัดส่งเฉพาะแบบ  ปอ.1 ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน  , คปต,  และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตาก     ภายในวันที่  30  ธันวาคม  ของทุกปี
-            สถานศึกษา  จัดส่งเฉพาะแบบ  ปอ.1,ปอ.2และปอ.3 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตาก เขต 1  และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตาก   ภายในวันที่  30  ธันวาคม  ของทุกปี
การจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบที่ คตง. กำหนด
               ในการดำเนินการจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบ คตง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544  ให้ครบตามแบบฟอร์มที่กำหนด   ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว   ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

                              ขั้นตอนและลำดับในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน  สำหรับส่วนงานย่อย
ขั้นตอนที่  1   
ในปีที่ผ่านมา   ตามที่ส่วนงานย่อยได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
ของหน่วยงาน (ปย.2) แล้ว ในปีปัจจุบัน หน่วยงานนั้นต้องดำเนินการจัดทำรายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (แบบติดตาม ปย.2) ด้วย
11


แบบ ปย. 2
(ปีงบประมาณที่แล้ว)
 
แบบติดตาม ปย. 2
(ปีปัจจุบัน)
 


    1                                                                                           2



               ขั้นตอนที่  2
                              นำแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (5 องค์ประกอบ) ในระดับส่วนงานย่อยมาวิเคราะห์ แล้วสรุปเกี่ยวกับการควบคุมภายในของแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ลงในแบบ  ปย.1  ( ผู้ใช้หรือผู้ประเมินอาจปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อความตามความเหมาะสม  )

แบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
 
แบบ
ปย. 1
 


                       3                                                                                          4



              
ขั้นตอนที่  3
                              นำข้อมูลจุดอ่อนและความเสี่ยงที่ได้จากแบบติดตาม  ปย. 2 , แบบ  ปย.1 และแบบสอบถามการควบคุมภายใน  มาสรุปรวบรวมลงในแบบ  ปย.2
                      
                      
แบบติดตาม
ปย.2
 

จุดอ่อนของการควบคุมภายใน
 
         5

แบบ ปย.2
 
แบบ ปย. 1
 
                                                                                                                   7                                           
        6                                                                                                                                                                                                                                                         
 



12


ขั้นตอนและลำดับในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน  สำหรับหน่วยรับตรวจ

ขั้นตอนที่  1   
-            นำแบบ  ปอ.3  ( ปีงบประมาณที่แล้ว )   มาติดตาม   แล้วสรุปผลการดำเนินงานลงใน
แบบติดตาม ปอ.3


แบบ ปอ. 3
(ปีงบประมาณที่แล้ว)
 
แบบติดตาม ปอ. 3
(ปีปัจจุบัน)
 


    1                                                                                           2




               ขั้นตอนที่  2
                              นำแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ( 5 องค์ประกอบ )   ในระดับหน่วย
รับตรวจมาวิเคราะห์ แล้วสรุปเกี่ยวกับการควบคุมภายในของแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ลงในแบบ  ปอ.2  ( ผู้ใช้หรือผู้ประเมินอาจปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อความตามความเหมาะสม  )


แบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
 
แบบ
ปอ. 2
 


                       3                                                                                          4



              


13


ขั้นตอนที่  3
                              นำข้อมูลจุดอ่อนและความเสี่ยงที่ได้จากแบบติดตาม  ปอ. 3 , แบบ  ปอ.2   มาสรุปรวบรวมลงในแบบ  ปอ.3

                      

จุดอ่อนของการควบคุมภายใน
 
                      
แบบติดตาม
ปอ.3
 

แบบ ปอ.3
 
         5                                                                                                               7
แบบ ปอ. 2
 
                                                                                                                                                               
        6                                                                                                                                                                                                                                                         




ขั้นตอนที่  4
                              นำกิจกรรม / งาน  ในแบบ ปอ.3  มาสรุปลงใน  แบบ  ปอ.1


แบบ  ปอ. 3
 

       แบบ  ปอ. 1
 


                       8                                                                                          9



              






14


แผนภูมิสรุปรวมขั้นตอนการจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายใน  ส่วนงานย่อย  ( กลุ่ม / งาน )




























15

แผนภูมิสรุปรวมขั้นตอนการจัดทำแบบรายงานการควบคุมภายใน  หน่วยรับตรวจ  ( สพป. / สถานศึกษา )






















3.  แบบรายงานที่ส่วนงานย่อย ( กลุ่ม / งาน )  ต้องจัดส่งหน่วยรับตรวจ  ณ  วันที่  30  กันยายน
     ของทุกปี


แบบ  ปย.1
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
แบบ ปย.2
รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน

16

4.  แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่ส่วนงานย่อย  ( กลุ่ม / งาน ) 

แบบ  ปย.1
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
แบบ ปย.2
รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน
แบบติดตาม  ปย.2
รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
แบบสอบถามการควบคุมภายใน (ถ้ามี)
แบบสอบถามการควบคุมภายในของกลุ่ม / งานต่าง ๆ

5.  แบบรายงานที่หน่วยรับตรวจ  ต้องจัดส่งให้ผู้กำกับการดูแล   ณ  วันที่  30  กันยายน   ของทุกปี


แบบ  ปอ.1
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน

6. แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่หน่วยรับตรวจ  ( สพป. / สถานศึกษา )
    6.1  แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่สพป.

แบบ  ปอ. 1
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน
แบบ  ปอ. 2
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
แบบ  ปอ. 3
รายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
แบบติดตาม  ปอ.3
รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
แบบ  ปส.
รายงานผลการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบภายใน
แบบประเมิน
( ถ้ามี )
เช่น  -  ตารางกิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ( Checklists )
        -  แบบสอบถามการควบคุมภายใน ( Internal  Control  Questionnaires )
        -  ผังแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Flowcharts )
        -  เทคนิคการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง  ( Control  Self  Assessment )  




17

     6.2   แบบรายงานที่จัดเก็บไว้ที่สถานศึกษา

แบบ  ปอ. 1
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน
แบบ  ปอ. 2
รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
แบบ  ปอ. 3
รายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
แบบติดตาม  ปอ.3
รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
แบบประเมิน
( ถ้ามี )
เช่น  -  ตารางกิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ( Checklists )
        -  แบบสอบถามการควบคุมภายใน ( Internal  Control  Questionnaires )
        -  ผังแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Flowcharts )
        -  เทคนิคการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง  (Control Self Assessment )  

7.  ตัวอย่างแบบรายงาน  และคำอธิบายของ สพป. / สถานศึกษา

















18

แบบ  ปอ.1
หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน
( กรณีไม่พบจุดอ่อนที่มีนัยสำคัญ )

เรียน   ( ผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตาก และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
             ประถมศึกษาตาก   เขต 1 )  
                              โรงเรียน ..................................  ได้ประเมินผลการควบคุมภายในสำหรับปีสิ้นสุดวันที่  30   เดือนกันยายน  พ.ศ. ...................  ด้วยวิธีการที่โรงเรียน ..................................   กำหนดโดยมีวัตถุประสงค์     เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากร      ซึ่งรวมถึงการดูแลทรัพย์สิน
การป้องกันหรือลดความผิดพลาด   ความเสียหาย  การรั่วไหล  การสิ้นเปลือง  หรือการทุจริต  ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน  และการดำเนินงานและด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  มติคณะรัฐมนตรีและนโยบาย   ซึ่งรวมถึงระเบียบปฏิบัติของฝ่ายบริหาร                   
                              จากผลการประเมินดังกล่าวเห็นว่าการควบคุมภายในของโรงเรียน..........................................  สำหรับปีสิ้นสุดวันที่  30  เดือนกันยายน  พ.ศ..........   เป็นไปตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไว้  มีความเพียงพอและบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในตามที่กล่าวในวรรคแรก   
                             


                                                                                                   (ชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน )
                 ตำแหน่ง.............................................................   
                      วันที่..........เดือน..................... พ.ศ.................

อ่านทั้งหมดที่  ระบบควบคุมภายใน

               

สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่

"ติวสอบดอทคอม"  www.tuewsob.com  หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ

 ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา
สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/

"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ

ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com โดย ผอ.นิกร เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา

ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ บน ยูทูป
ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ ฟรี บน ยูทูป

ติวสอบดอทคอม (เว็บติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม