การประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน
บทบาทครูในการประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชน
Filed Under (บทความเชิงวิชาการ) by wattana on 20-04-2009
บทบาทครูในการประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนา ปุญญฤทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ในปี พ.ศ. 2540 ประธานาธิบดีคลินตัน แห่งประเทศสหรัฐอเมริกัน เป็นเจ้าภาพ จัดประชุมที่ทำเนียบขาวเรื่อง “พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ในวัยแรกเริ่มของชีวิต ผลการศึกษาวิจัยใหม่ ๆ ด้านสมองเกี่ยวกับเด็กเล็ก” ทั้งนี้นักวิชาการได้นำผลการวิจัยและข้อสรุปทางการศึกษาค้นคว้าไปบรรยาย ซึ่งนักวิชาการได้แสดงถึงข้อค้นพบที่เน้นถึงความสำคัญของประสบการณ์ในวัยเริ่มต้นชีวิต
โดยเฉพาะการรายงานผลการศึกษาค้นคว้าเป็นเวลานับสิบปี ที่ระบุถึงการทำงานที่ซับซ้อนของสมองทารกที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และประสบการณ์ในวัยเริ่มต้นที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ในช่วงต่อ ๆ ไปของชีวิต กิจกรรมที่พ่อแม่ทำร่วมกับเด็ก เช่น การร้องเพลง การพูดคุย และการอ่าน หนังสือให้เด็กฟัง ล้วนมีส่วนช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และพัฒนาไปตลอดชีวิต และมีการสรุปถึงความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยพ่อแม่ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยระบุว่า “ผู้ดูแลเด็กสามารถตอบสนองความต้องการของเด็กเล็กได้ แต่ไม่สามารถแทนที่ได้” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543 : อารัมภบท) ซึ่งข้อความดังกล่าวนี้ แสดงถึงความสำคัญของพ่อแม่ที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านและการเรียนรู้ของเด็ก
นอกจากความสำคัญของผู้ปกครองหรือสถาบันครอบครัวที่มีต่อการส่งเสริมและพัฒนาเด็กแล้ว ชุมชนหรือสังคมยังเป็นสถาบันที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันในการมีส่วนสนับสนุนพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กของตน ดังที่ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2543 : 23-24) ได้อธิบายถึง องค์รวมแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ที่เกิดจากกระบวนการจัดการที่ดีที่สนับสนุนการเรียนรู้โดยมีทั้งองค์ประกอบภายใน ซึ่งได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และองค์ประกอบภายนอก ซึ่งส่วนหนึ่งคือปัจจัยที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มุ่งสนับสนุนการศึกษา โดยใช้ศักยภาพของชุมชนคอยให้คำปรึกษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้แก่ชุมชน
สำหรับปรัชญาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ระบุไว้ในเอกสารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ว่า “เป็นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะของการร่วมมือกันรับผิดชอบ หรือถือเป็นหุ้นส่วนที่จะต้องช่วยพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน” (กรมวิชาการ. 2546 : 7) ซึ่งแสดงให้เห็นว่านอกจากผู้ปกครองแล้ว ชุมชนยังมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ให้ชุมชนประสานความร่วมมือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการจัดการศึกษาจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ย่อมต้องอาศัยปัจจัยทั้งตัว ผู้เรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ที่ทำงานร่วมกัน
นอกจากความสำคัญของผู้ปกครองหรือสถาบันครอบครัวที่มีต่อการส่งเสริมและพัฒนาเด็กแล้ว ชุมชนหรือสังคมยังเป็นสถาบันที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันในการมีส่วนสนับสนุนพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กของตน ดังที่ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2543 : 23-24) ได้อธิบายถึง องค์รวมแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ที่เกิดจากกระบวนการจัดการที่ดีที่สนับสนุนการเรียนรู้โดยมีทั้งองค์ประกอบภายใน ซึ่งได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และองค์ประกอบภายนอก ซึ่งส่วนหนึ่งคือปัจจัยที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มุ่งสนับสนุนการศึกษา โดยใช้ศักยภาพของชุมชนคอยให้คำปรึกษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้แก่ชุมชน
สำหรับปรัชญาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ระบุไว้ในเอกสารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ว่า “เป็นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะของการร่วมมือกันรับผิดชอบ หรือถือเป็นหุ้นส่วนที่จะต้องช่วยพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน” (กรมวิชาการ. 2546 : 7) ซึ่งแสดงให้เห็นว่านอกจากผู้ปกครองแล้ว ชุมชนยังมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ให้ชุมชนประสานความร่วมมือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการจัดการศึกษาจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ย่อมต้องอาศัยปัจจัยทั้งตัว ผู้เรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ที่ทำงานร่วมกัน
บทบาทของชุมชนและผู้ปกครอง
ในเอกสารคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 ได้กล่าวถึงบทบาทของชุมชนและผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย (กรมวิชาการ 2546 : 101-102) ดังนี้
บทบาทของชุมชน
1. มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ในบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาสมาคม/ชมรมผู้ปกครอง
2. มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของสถานศึกษา
3. เป็นศูนย์การเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จาก สถานการณ์ที่หลากหลาย
4. ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
5. ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิทยากรภายนอกและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
6. ประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
7. มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ทำหน้าที่เสนอแนะในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
บทบาทของชุมชน
1. มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ในบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาสมาคม/ชมรมผู้ปกครอง
2. มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของสถานศึกษา
3. เป็นศูนย์การเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จาก สถานการณ์ที่หลากหลาย
4. ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
5. ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิทยากรภายนอกและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
6. ประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
7. มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ทำหน้าที่เสนอแนะในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
บทบาทของพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย
1. มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา และให้ความเห็นชอบกำหนดแผนการเรียนรู้ของเด็กร่วมกับผู้สอนและเด็ก
2. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กตามศักยภาพ
3. เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ จัดบรรยากาศภายในบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้
4. สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสมและจำเป็น
5. อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
6. ป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยประสานความร่วมมือกับผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
7. เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการปฏิบัติตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมีคุณธรรม นำไปสู่การพัฒนาให้เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้
8. มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก และในการประเมินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1. มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา และให้ความเห็นชอบกำหนดแผนการเรียนรู้ของเด็กร่วมกับผู้สอนและเด็ก
2. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กตามศักยภาพ
3. เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ จัดบรรยากาศภายในบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้
4. สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสมและจำเป็น
5. อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
6. ป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยประสานความร่วมมือกับผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
7. เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการปฏิบัติตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมีคุณธรรม นำไปสู่การพัฒนาให้เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้
8. มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก และในการประเมินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
เป้าหมายของการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดการศึกษา
การทำงานร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดการศึกษา ควรจะเป็นเป้าหมายที่มุ่งไปสู่การศึกษาเพื่อชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนี้
1. เด็กทุกคนในชุมชนควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้การดูแลเด็กมิใช่หน้าที่ของครอบครัว และสถานศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการดูแลร่วมกันของทุกฝ่ายในชุมชน
2. สร้างการรับรู้ให้ผู้ปกครองและชุมชนรับรู้ถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเด็กร่วมกันกับสถานศึกษา โดยเกิดจากความรู้สึกว่าเด็กคือคนของชุมชน และเด็กเหล่านี้จะเป็นผู้สืบทอดภารกิจต่าง ๆ ของชุมชนต่อไป การลงมือเตรียมเด็กให้เป็นไปตามที่ชุมชนกำหนด จุดหมายไว้ จะทำให้มองเห็นภาพอนาคตของชุมชนได้
3. สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ปกครองและชุมชนในการหาวิธีร่วมกัน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเด็กร่วมกับสถานศึกษา
4. กระตุ้นให้มีการรวมกลุ่มและร่วมมือร่วมใจกันในกลุ่มองค์กรในชุมชนเพื่อริเริ่มและสนับสนุนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับสถานศึกษาในการพัฒนาเด็กของชุมชน การรวมกลุ่มกันดังกล่าวอาจจัดอยู่ในรูปขององค์กรการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่มีบุคลากรจากทุกฝ่ายในชุมชนเป็นกรรมการและกรรมการเหล่านั้นจะต้องมีพลังที่จะผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางการศึกษาได้
1. เด็กทุกคนในชุมชนควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้การดูแลเด็กมิใช่หน้าที่ของครอบครัว และสถานศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการดูแลร่วมกันของทุกฝ่ายในชุมชน
2. สร้างการรับรู้ให้ผู้ปกครองและชุมชนรับรู้ถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเด็กร่วมกันกับสถานศึกษา โดยเกิดจากความรู้สึกว่าเด็กคือคนของชุมชน และเด็กเหล่านี้จะเป็นผู้สืบทอดภารกิจต่าง ๆ ของชุมชนต่อไป การลงมือเตรียมเด็กให้เป็นไปตามที่ชุมชนกำหนด จุดหมายไว้ จะทำให้มองเห็นภาพอนาคตของชุมชนได้
3. สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ปกครองและชุมชนในการหาวิธีร่วมกัน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเด็กร่วมกับสถานศึกษา
4. กระตุ้นให้มีการรวมกลุ่มและร่วมมือร่วมใจกันในกลุ่มองค์กรในชุมชนเพื่อริเริ่มและสนับสนุนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับสถานศึกษาในการพัฒนาเด็กของชุมชน การรวมกลุ่มกันดังกล่าวอาจจัดอยู่ในรูปขององค์กรการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่มีบุคลากรจากทุกฝ่ายในชุมชนเป็นกรรมการและกรรมการเหล่านั้นจะต้องมีพลังที่จะผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางการศึกษาได้
วิธีการประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชน
ครูเป็นบุคลากรที่จะทำหน้าที่ในการประสานงานทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครองชุมชน และองค์กรในชุมชนในการจัดการศึกษา ซึ่งวิธีการประสานงานดังนี้
1. การชักชวนพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคลต่าง ๆ ในชุมชนมารวมกลุ่มกัน เพื่อทำกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก ครูเป็นผู้ประสานงาน โดยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนเป็นกรรมการ ลักษณะของการทำกิจกรรมได้แก่ การให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องของวิธีการส่งเสริมพัฒนาเด็ก การเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับเด็กโดยตรง การเป็นแหล่งความรู้ให้แก่เด็ก การร่วมมือกันทำ กิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ของชุมชนในนามของชมรมหรือกลุ่มโดยให้เด็กมีส่วนร่วม และการร่วมกันรณรงค์เผยแพร่แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเด็ก
2. การเข้าถึงชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครองผ่านแหล่งความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น วิทยุชุมชน นิตยสาร หนังสือพิมพ์ทั่วไปและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นิตยสาร รายการโทรทัศน์ การให้ข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ฯลฯ ทั้งนี้อาจเป็นการให้ความรู้ การรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาเด็ก การให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก เป็นต้น
3. การเยี่ยมบ้านเป็นรายบุคคล และการเยี่ยมบ้านเป็นกลุ่ม ทั้งนี้จะเป็นการติดต่อประสานกับผู้ปกครองโดยตรงและใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการได้พบปะสนทนากันโดยตรงในสถานการณ์จริง และการพูดคุยอย่างฉันท์มิตร ก่อให้เกิดความไว้ใจ เชื่อมั่น และเกิดความเชื่อมั่น การเยี่ยมบ้านอาจจะเป็นการไปพบปะกับกลุ่มหรือชมรมของชุมชนที่มีอยู่แล้ว การพบปะโดยการเข้ากลุ่ม ทำให้สื่อความคิดได้โดยตรง การสื่อสารสองทางทำให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย และทำข้อตกลงได้ง่าย ครูอาจจะร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม เพื่อประสานงานและทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม พร้อมทั้งการประสานกิจกรรมให้มีความเชื่อมโยงกับงานการจัดการศึกษาด้วยควบคู่กัน
4. การรวมกลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับครอบครัวและเด็ก เช่น นักจิตวิทยา หมอเด็ก นักสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิเอกชน กลุ่มพ่อแม่ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางการศึกษา ฯลฯ เป็นการรวบรวมแหล่งความรู้และการให้ความช่วยเหลือ การบริการและสวัสดิการที่เกี่ยวกับครอบครัวและเด็กไว้ด้วยกัน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายในส่วน ต่าง ๆ ของชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้การช่วยเหลือแก่ครอบครัวและเด็กที่ต้องการอย่างเบ็ดเสร็จ รวดเร็ว และเพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเด็กของตน
5. เชิญผู้ปกครองและชุมชนเยี่ยมห้องเรียน ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
6. การประสานงานกับโรงเรียนประถมศึกษาให้มีนโยบายอย่างเป็นทางการที่จะจัด กิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้เด็กจากสถานศึกษาระดับปฐมวัย สามารถปรับตัวเข้ากับโรงเรียนใหม่ได้อย่างราบรื่น
7. การเป็นผู้ปกระสานกับหน่วยต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้มีการรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรทางการศึกษาที่มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนในการพัฒนาเด็ก เพื่อให้เด็กเหล่านี้มีลักษณะที่พึงประสงค์ มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพตามที่ชุมชนคาดหวัง และให้เด็กเติบโตมาเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของชุมชน และสืบสานภาระหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนของตนให้เข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป
การพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกคอบและชุมชน ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ประสานงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน ให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก และกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเด็กร่วมกัน จากนั้นจึงกระตุ้นให้มีการร่วมมือร่วมใจกันในทุกองค์กรของชุมชน ในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กของชุมชนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
1. การชักชวนพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคลต่าง ๆ ในชุมชนมารวมกลุ่มกัน เพื่อทำกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก ครูเป็นผู้ประสานงาน โดยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนเป็นกรรมการ ลักษณะของการทำกิจกรรมได้แก่ การให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องของวิธีการส่งเสริมพัฒนาเด็ก การเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับเด็กโดยตรง การเป็นแหล่งความรู้ให้แก่เด็ก การร่วมมือกันทำ กิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ของชุมชนในนามของชมรมหรือกลุ่มโดยให้เด็กมีส่วนร่วม และการร่วมกันรณรงค์เผยแพร่แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเด็ก
2. การเข้าถึงชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครองผ่านแหล่งความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น วิทยุชุมชน นิตยสาร หนังสือพิมพ์ทั่วไปและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นิตยสาร รายการโทรทัศน์ การให้ข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ฯลฯ ทั้งนี้อาจเป็นการให้ความรู้ การรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาเด็ก การให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก เป็นต้น
3. การเยี่ยมบ้านเป็นรายบุคคล และการเยี่ยมบ้านเป็นกลุ่ม ทั้งนี้จะเป็นการติดต่อประสานกับผู้ปกครองโดยตรงและใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการได้พบปะสนทนากันโดยตรงในสถานการณ์จริง และการพูดคุยอย่างฉันท์มิตร ก่อให้เกิดความไว้ใจ เชื่อมั่น และเกิดความเชื่อมั่น การเยี่ยมบ้านอาจจะเป็นการไปพบปะกับกลุ่มหรือชมรมของชุมชนที่มีอยู่แล้ว การพบปะโดยการเข้ากลุ่ม ทำให้สื่อความคิดได้โดยตรง การสื่อสารสองทางทำให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย และทำข้อตกลงได้ง่าย ครูอาจจะร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม เพื่อประสานงานและทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม พร้อมทั้งการประสานกิจกรรมให้มีความเชื่อมโยงกับงานการจัดการศึกษาด้วยควบคู่กัน
4. การรวมกลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับครอบครัวและเด็ก เช่น นักจิตวิทยา หมอเด็ก นักสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิเอกชน กลุ่มพ่อแม่ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางการศึกษา ฯลฯ เป็นการรวบรวมแหล่งความรู้และการให้ความช่วยเหลือ การบริการและสวัสดิการที่เกี่ยวกับครอบครัวและเด็กไว้ด้วยกัน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายในส่วน ต่าง ๆ ของชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้การช่วยเหลือแก่ครอบครัวและเด็กที่ต้องการอย่างเบ็ดเสร็จ รวดเร็ว และเพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเด็กของตน
5. เชิญผู้ปกครองและชุมชนเยี่ยมห้องเรียน ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
6. การประสานงานกับโรงเรียนประถมศึกษาให้มีนโยบายอย่างเป็นทางการที่จะจัด กิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้เด็กจากสถานศึกษาระดับปฐมวัย สามารถปรับตัวเข้ากับโรงเรียนใหม่ได้อย่างราบรื่น
7. การเป็นผู้ปกระสานกับหน่วยต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้มีการรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรทางการศึกษาที่มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนในการพัฒนาเด็ก เพื่อให้เด็กเหล่านี้มีลักษณะที่พึงประสงค์ มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพตามที่ชุมชนคาดหวัง และให้เด็กเติบโตมาเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของชุมชน และสืบสานภาระหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนของตนให้เข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป
การพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกคอบและชุมชน ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ประสานงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน ให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก และกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเด็กร่วมกัน จากนั้นจึงกระตุ้นให้มีการร่วมมือร่วมใจกันในทุกองค์กรของชุมชน ในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กของชุมชนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). ความร่วมมือระหว่างชุมชน สถานประกอบการ
และโรงเรียนในการปฏิรูปการศึกษา กรณีศึกษา : ซิลิคอนแวลลีย์. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์ จำกัด.
. (2543). เด็กปฐมวัยของสหรัฐอเมริกา รายงานการพัฒนาและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :
บริษัท พริกหวาน กราฟฟิก จำกัด.
. (2544). แนวคิดและประสบการณ์จัดการศึกษาที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดในสหรัฐอเมริกา.
กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชัย วงษ์ใหญ่.(2543).”ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด สูตรสำเร็จหรือกระบวนการ” ใน ร่วมคิดร่วมเขียนปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิกจำกัด.
และโรงเรียนในการปฏิรูปการศึกษา กรณีศึกษา : ซิลิคอนแวลลีย์. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์ จำกัด.
. (2543). เด็กปฐมวัยของสหรัฐอเมริกา รายงานการพัฒนาและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :
บริษัท พริกหวาน กราฟฟิก จำกัด.
. (2544). แนวคิดและประสบการณ์จัดการศึกษาที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดในสหรัฐอเมริกา.
กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชัย วงษ์ใหญ่.(2543).”ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด สูตรสำเร็จหรือกระบวนการ” ใน ร่วมคิดร่วมเขียนปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิกจำกัด.
"ติวสอบดอทคอม" www.tuewsob.com หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ
สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/
"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น