หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567
ติวสอบ รอง./ผอ.รร ปี 2567

ข้อสอบผู้บริหาร คู่ขนานสนามสอบจริง ปี 2562

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

ข้อสอบออนไลน์ ภาษาอังกฤษและการสร้างค่านิยม 12 ประการ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การวางแผนการบริหารงานบุคคล




การวางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ 





การบริหารงานบุคคล

“คน”  เป็นหนึ่งในปัจจัยทางการบริหารที่สำคัญและยอมรับกันทั่วไป เรียกย่อ ๆ ว่า “4  M’  s”     อันประกอบด้วย บุคลากร หรือทรัพยากรมนุษย์ (Man)  เงิน (Money)  วัสดุ  อุปกรณ์ (Materials)  และการจัดการ (Management) จะพบว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหาร เพราะหากขาดกำลังคน ก็จะไม่มีตัวขับเคลื่อนปัจจัยอื่น ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญในการบริหารคนในองค์กรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันคือ การบริหารงานบุคคล
ความหมายของการบริหารงานบุคคล
          คำว่า “การบริหารงานบุคคล”  มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า “Personnel  Administration”   หรือ “Personnel  Management”  ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้
          เฟอริคซ์ เอ ไนโกร (Felix  A.  Nigro)   ได้ให้นิยมว่า “Personnel  Administration  is  the  art  of  selection  new  employees  and  making  use  of  old  ones  in  such  manner  that  the  maximum  quality  and  quantity  of  output  and  service  are  obtained  from  the  working  force”
แปลว่า“ศิลปะในการเลือกคนใหม่และใช้คนเก่า ในลักษณะที่จะให้ได้ผลงาน และบริการจากการปฏิบัติงานของบุคคลเหล่านั้น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ”         
          สมพงศ์  เกษมสิน  มีความเห็นว่า “การบริหารงานบุคคลนั้น เป็นการจัดการ เกี่ยวกับบุคคลนับตั้งแต่การสรรหาบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน การดูแลบำรุงรักษา จนกระทั่พ้นไปจากการปฏิบัติงาน”
          ชูศักดิ์  เที่ยงตรง  กล่าวว่า “การบริหารงานบุคคล คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้คนดี มีคุณวุฒิ และมีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ มาทำงานด้วยความสนใจ พึงพอใจ อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล”
          จะเห็นได้ว่า การบริหารงานบุคคลมิใช่เพียงการเลือกและแต่งตั้งคนเข้ามาทำงาน           เท่านั้ แต่เป็น     การดำเนินกิจกรรมการบริหารคนตั้งแต่เริ่มต้น นับตั้งแต่ก่อนบุคคลนั้นจะเข้าสู่องค์การ จนกระทั่งพ้นจากองค์การไป เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารองค์กรโดยรวม
หลักและระบบบริหารงานบุคคล

ระบบการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปที่นิยมใช้มี 2 ระบบด้วยกัน คือ

          1. ระบบอุปถัมภ์ (Patronage  System หรือ Spoil System)  เป็นระบบดั้งเดิม โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากจีนโบราณ ที่มักใช้การสืบทอดทางสายเลือด รวมไปถึง การนำสิ่งของ มาแลกตำแหน่ง   ลักษณะที่สำคัญ คือ
1)                    ไม่คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ
2)                    ไม่เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเลือกสรร
3)                    มักมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของหน่วยงาน
ข้อดี             -  รวดเร็ว แก้ไขสะดวก
                    -  มีความขัดแย้งในการตัดสินใจน้อย
                    -  เหมาะสมกับบางตำแหน่ง
                    -  สอดคล้องกับการปกครองที่มีระบบพรรคการเมือง
ข้อเสีย         -  ไม่มีหลักประกันว่าจะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
                    -  มุ่งรับใช้คนมากกว่าหน่วยงาน
                    -  ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานไม่ดี
                    -  หน่วยงานพัฒนาได้ยาก
          2. ระบบคุณธรรม (Merit  System)  เกิดจากความพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง ของระบบอุปถัมภ์ โดยเป็นระบบการบริหารบุคคลที่อาศัยความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก ไม่คำนึงถึง     ความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะสำคัญดังนี้
          1)  หลักความสามารถ (Competence)  เป็นการถือความสามารถของบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และต้องสามารถใช้ความรู้มาปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม             ได้อย่างเต็มที่
          2)  หลักความเสมอภาค (Equality  Opportunity)  เป็นการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน แก่บุคคลทั้งในการเข้าสู่การเป็นราชการและอยู่ในระหว่างการเป็นข้าราชการ  ซึ่งเป็นแนวคิดตามหลัก ประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสมอภาคแก่บุคคลภายในขอบเขตของกฏหมาย  โดยถือว่าทุกคน จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
          3)  หลักความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ (Security  of  Tenure)  ซึ่งต้องได้รับการยอมรับ       และคุ้มครองตามกฎหมาย คือจะไม่ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุที่พิสูจน์ได้  หลักการนี้    มุ่งให้ข้าราชการเกิดความมั่นคงถาวรในอาชีพ  และเกิดความรู้สึกมั่นคงที่จะแสวงหาความเจริญก้าวหน้า   ในหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลส่วนตัวหรือทางการเมือง
          4)  หลักความเป็นกลางทางการเมือง  (Political  Neutrality)  คือ การที่ข้าราชการประจำ      ต้องเป็นกลางทางการเมืองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถ     โดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด  แต่ยังคงสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
ข้อดี             -  สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเสมอภาค
                    -  ได้คนดีมีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน
                    -  สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
                    -  ช่วยหน่วยงานมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย         -  ล่าช้า
                    -  ค่าใช้จ่ายในการสอบแข่งขันสูง
                    -  สร้างความสัมพันธ์แบบเป็นทางการมากเกินไป
                    -  ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
วิวัฒนาการการบริหารงานบุคคลภาครัฐ

          การบริหารงานบุคคลแบ่งออกเป็น 2 ยุคกว้าง ๆ  ดังนี้

                    1.ยุคโบราณ หรือยุคดั้งเดิม  แนวความคิดรูปแบบนี้ ได้รับอิทธิพล จากนักวิชาการหลายคน  โดยมีจุดเริ่มต้นจากงานเขียนเรื่อง  “The  study  of  Administration”  ของ วู้ดโร วิลสัน (Woodrow  Wilson)  ในปี ค.ศ. 1887  ซึ่งพยายามแยกการบริหารบุคคลออกจากกิจกรรม ทางการเมืองอย่างเด็ดขาด  และหลังจากนั้นก็มีงานเขียนของนักวิชาการอีกหลายคน โดยแนวคิดในยุคนี้ จะเป็นการมองการบริหารงานบุคคล ในวงแคบ คือ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก การสอบ การเลื่อนขั้น         การจำแนกตำแหน่งการฝึกอบรม การออกจากราชการ และประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ เป็นต้น โดยไม่สนใจ    กับสิ่งแวดล้อมภายนอกมองการบริหารงานบุคคล เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีสำหรับการควบคุมบุคคล (Management  Control  Activity)  มากกว่า จะมองครอบคลุม  ถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกในองค์การ (People  - connected Activity) 
แนวความคิดในยุคนี้เป็นการรวมแนวความคิดในเรื่องการแยกการเมืองออกจากการบริหารอย่างเด็ดขาด เน้นความเป็นกลางทางการเมือง มีระบบคุณธรรมเป็นหัวใจในการบริหาร เป็นการบริหารที่มีลักษณะปราศจากค่านิยมเน้นแต่เทคนิคและประสิทธิภาพในการบริหารงาน และเป็นปัญหาทางการบริหารเท่านั้น ซึ่งแนวความคิดแบบโบราณนี้ ได้รับการท้าทาย และโจมตี จากนักวิชาการหลายท่าน นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวิวัฒนาการไปสู่แนวทางที่ 2
                    2.  ยุคใหม่  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการเริ่มเขียนบทความ โดยตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ การแยกการบริหารออกจากการเมืองอย่างเด็ดขาดว่าทำได้จริงหรือไม่  นักวิชาการรุ่นใหม่ พยายามอธิบายว่าจริง ๆ แล้ว การบริหารนั้นจะมีค่านิยมทางการเมือง เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ปัญหาการบริหารงานน่าจะพิจารณาในแง่การเมืองมากกว่าเทคนิค นอจากนี้อีกประเด็นหนึ่งที่โดนโจมตีเป็นอย่างมากคือ เรื่องของ   หลักประสิทธิภาพ โดยในงานเขียนของเฟอริคซ์ เอ ไนโกร และลอยด์ จี ไนโกร ที่มีชื่อว่า “The  New  Public  Personnel  Administration” กล่าวว่า หลักประสิทธิภาพมีจุดอ่อนในตัวมันเอง 2 ประการคือ จะเป็นตัวทำลาย มากกว่าเป็นตัวช่วยเหลือ      เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงาน และหลักประสิทธิภาพมุ่งเน้นแต่เฉพาะกรรมวิธี และเทคนิคในการทำงานโดยมองข้ามความเป็นมนุษย์ในองค์การใดโดยสิ้นเชิง
          แนวความคิดที่ 2 นี้ จะมีมิติใหม่ของการบริหารงานบุคคล 3 ประการ คือ
1)                    เน้นหนักในการบริหารงานบุคคลในฐานะที่เป็นการเมืองมากขึ้น
2)                    ให้ความสำคัญกับค่านิยม
3)                    การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
          อาจกล่าวได้ว่า แนวความคิดในยุคนี้มองการบริหารงานบุคคล เป็นระบบย่อย ของระบบการเมืองจึงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมือง ซึ่งพฤติกรรมของบุคลากร ในระบบจะถูกกำหนดโดยพลัง ในทางการเมือง ทั้งจากภายนอกและภายใน ระบบการคัดเลือกคน เข้าสู่ระบบราชการก็จะมุ่งเน้นเรื่อง ความเสมอภาคและความยุติธรรมเป็นสำคัญ
ดังนั้น จึงเน้นให้เกิดระบบราชการที่มีลักษณะสะท้อนความเป็นตัวแทน ของทุกกลุ่มของสังคม   จึงอาจสรุปได้ว่า ในยุคใหม่นี้จะเป็นการมองการบริหารงานบุคคลในแง่มุมที่กว้างขึ้น โดยมองที่ความสัมพันธ์ของบุคคลกับองค์กรและการปฎิสัมพันธ์ต่อกันในทุกมิติ มากกว่าที่จะมองแค่เป็น การควบคุมพฤติกรรม  ของบุคคลในองค์กรเช่นในยุคโบราณ
วิวัฒนาการการบริหารงานบุคคลภาครัฐในไทย
ระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานควบคู่กับระบบราชการ การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งมักสืบเนื่องมาจากการปฏิรูประบบราชการ หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคสำคัญ ดังนี้
1.                     ยุคระบบศักดินา – บรรดาศักดิ์
ยุคนี้ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ลักษณะการบริหารงานบุคคลทุกอย่างจะเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ ตลอดช่วงเวลานี้มีการปฏิรูปที่สำคัญอยู่ 2 ครั้ง กล่าวคือ ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีลักษณะ เป็นการปรับปรุงโครงสร้างของระบบราชการ ทำให้มีการแยกหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนขึ้น การใช้กำลังคนเริ่มเป็นไป ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็นการปฏิรูป ครั้งสำคัญยิ่ง ในขณะนั้นไทย มีการติดต่อกับต่างประเทศ จึงได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเป็นอย่างมาก จึงมีการปฏิบัติการบริหารงานบุคคลตามแบบตะวันตก พร้อม ๆ กับการปฏิรูปการปกครองและการบริหาร       โดยพระองค์โปรดให้จัดตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง แทน เวียง วัง คลัง และนา                                          ในแต่ละกระทรวงมีเสนาบดี เป็นผู้ปกครองผู้บังคับบัญชา และมีฐานะเท่าเทียมกัน ผลของการปฏิรูปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ประการคือ
1)                    แยกราชการทหารออกจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนอย่างเด็ดขาด
2)                    มีการจัดการศึกษาฝึกอบรมและสอบแข่งขันคนเข้ารับราชการตามระบบคุณธรรม ในกระทรวงมหาดไทย แทนการฝากฝังและชุบเลี้ยงในระบบอุปถัมภ์แบบที่มีมาก่อน
3)                    เลิก“ระบบกินเมือง” จัดระบบจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการ รวมทั้ง มีการจัดประโยชน์ตอบแทนรูปต่าง ๆ
4)                    เปลี่ยนลักษณะข้าราชการหัวเมืองจากลักษณะ “ข้าราชการปกครอง” หรือ “นายประชาชน”  ซึ่งทำหน้าที่ปกครองประชาชน มาเป็น “ข้าราชการพลเรือน”  หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ”  ทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนและบริหารราชการแผ่นดิน
5) ส่งเสริมให้ข้าราชการไปรับราชการหัวเมือง โดยให้คนท้องถิ่นได้รับราชการในท้องถิ่นนั้น ๆ และให้คนที่รับราชการตามหัวเมืองได้รับประโยชน์เร็วกว่าและยิ่งกว่าคนที่รับราชการในกรุง
ลักษณะสำคัญของการบริหารงานบุคคลในยุคนี้คือ การสรรหาบุคคลเข้ารับราชการขึ้นอยู่กับ      ดุลยพินิจของพระมหากษัตริย์ แต่ในช่วงตอนปลายยุค ดุลยพินิจในการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ         ได้ยกมาอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้ากระทรวงเป็นสำคัญ กล่าวคือ เจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงมีอิสระ          ที่จะสรรหาคนเข้ารับราชการได้ แต่ก็ยังมิได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติ หรือการควบคุมมาตรฐาน   ในการบริหารงานบุคคลเป็นส่วนกลาง
2.ยุคระบบมีชั้นยศ(พ.ศ.2472–2475) ยุคนี้เป็นยุคแรก ที่นำระบบคุณธรรม มาใช้ในการบริหาร  
งานบุคคลในราชการไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 การเข้ารับราชการถือเป็นสิทธิของประชาชนทุกคนตามหลักความเสมอภาคในโอกาส   จึงมีการเปิดโอกาส          ให้คนที่มีความรู้ ความสามารถเข้ารับราชการโดยการเลือกสรร อย่างเป็นกลางและยุติธรรม    ข้าราชการทุกคนได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนกลาง การจัดระเบียบบริหารงานบุคคลของราชการ ได้ทำอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎหมายเกี่ยวกับระบบบริหารงานบุคคลในภาคราชการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 ซึ่งประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 มีหลักการของระบบคุณธรรม ซึ่งปรากฏ ตามพระราชปรารภในตราพระราชบัญญัตินี้ ความว่า
“โดยที่มีพระราชประสงค์จะวางระเบียบข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปในทางเลือกสรร       ผู้มีความรู้ และความสามารถเข้ารับราชการเป็นอาชีพ ไม่มีกังวลด้วยการแสวงผลประโยชน์ในทางอื่น    ส่วนฝ่ายข้าราชการก็ให้ได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น เนื่องจากความสะพรั่งพร้อมด้วยข้าราชการ                             ซึ่งมีความสามารถและรอบรู้ในวิถีและอุบายของราชการ กับหน้าที่และวินัยอันตนพึงรักษาเป็นนิตยกาล”
ตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดยศให้ข้าราชการพลเรือนคล้ายกับทหารด้วย การกำหนดเงินเดือน   เป็นไปตามยศ โดยยศข้าราชการพลเรือนมี 2 ชั้น คือ
1)                    ชั้นสัญญาบัตร  ประกอบด้วยยศต่าง ๆ คือ มหาอำมาตย์เอก มหาอำมาตย์โท มหาอำมาตย์ตรี รองมหาอำมาตย์เอก รองมหาอำมาตย์โท และรองมหาอำมาตย์ตรี
2)                    ชั้นราชบุรุษ มีชั้นยศตาเดียว คือ ราชบุรุษ
ในยุคนี้ประเทศไทยประกอบด้วยข้าราชการ 3 ประเภท คือ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการพลเรือนข้าราชการพลเรือน จะมีบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2471 โดยมีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นองค์กรควบคุมการบริหารงานบุคคล ส่วนข้าราชการตุลาการนั้นมีบทบัญญัติในการบริหารงานบุคคล ตามพระราชบัญญัติซึ่งออกมาในปีเดียวกัน    คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลากรพ.ศ.2471 โดยมีคณะกรรมการข้าราชการตุลากร(ก.ต.)ทำหน้าที่เป็นองค์การกลาง ในการบริหารงานบุคคล
3.  ยุคระบบตำแหน่ง (พ.ศ. 2476 - 2478)  ในยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง          จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ได้มีแนวคิด เกี่ยวกับการจัดระบบราชการ และการบริหารงานบุคคลในราชการ ให้สอดคล้องและทันสมัย เช่นเดียวกับประเทศตะวันตก จึงได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2476 ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกยศและบรรดาศักดิ์ โดยเปลี่ยนโครงสร้างของระบบบริหารงานบุคคล มาใช้ตำแหน่งเป็นแกนหลักแทนชั้นยศ   มีการกำหนดเงินเดือนให้เป็นไปตามหน้าที่ของตำแหน่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือนช่วงนี้เป็นจุดเริ่มแรก ของการบริหารงานบุคคล ตามระบบตำแหน่งนั่นเอง
การปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลครั้งนี้ ดำเนินการอย่างเร่งรีบและค่อนข้าง       เฉพาะเจาะจงบังคับ ทำให้ยากแก่การสับเปลี่ยนโยกย้าย ไม่คล่องตัวในการบริหารงานบุคคล จึงนำไปสู่    การแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลอีก ในปี พ.ศ. 2479 โดยกลับไปใช้ระบบชั้นยศ          เป็นแกนกลางเหมือนเดิม แต่ลดจำนวนชั้นให้เหลือเพียง 5 ชั้น
4. ยุคระบบมีชั้นและตำแน่ง (พ.ศ.2479 – 2517) ยุคนี้เป็นช่วงของการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 5 ฉบับ 
คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479, 2482, 2485, 2495 และ 2497   
ซึ่งแต่ละฉบับมี  การกำหนดชั้นประจำตัวราชการ และเทียบตำแหน่งเข้าสู่ชั้นยศ กล่าวคือ ชั้นประจำตัวข้าราชการ จะมี 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ กำหนดเงินเดือน ให้ได้รับตามชั้นทั้ง 5 และกำหนด ให้มีตำแหน่งหลัก 6 ตำแหน่ง คือ เสมียนพนักงาน ประจำแผนก หัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง อธิบดี  และปลัดกระทรวง อีกทั้งกำหนดว่าตำแหน่งใด ให้แต่งตั้งจากข้าราชการชั้นนั้น
ในยุคนี้เป็นยุคที่อำนาจของ ก.พ. ถูกลดและเพิ่มสลับกันเป็นระยะ ๆ  เนื่องจากพอให้อำนาจ ก.พ. มาก ราชการก็ล่าช้า พอกระจายอำนาจไปที่กระทรวง ทบวง กรม ก็มีข้อครหาเรื่องไม่เป็นธรรม  เล่นพรรคเล่นพวก เหลื่อมล้ำไม่ได้มาตรฐาน ยิ่งเมื่อมีการแยกข้าราชการออกมากประเภทและมีการตั้ง  องค์การบริหารงานบุคคลแยกออกจาก ก.พ. จึงเกิดปัญหาขาดเอกภาพ เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม  ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันมากยิ่งขึ้น ปลายยุคนี้ได้มีข้าราชการเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเภท คือ มีการออกกฎหมาย  จัดระเบียบข้าราชการอัยการ (พ.ศ. 2503)  และข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2507)
5.   ยุคระบบจำแนกตำแหน่ง (พ.ศ. 2518 – ปัจจุบัน)
ใน พ.ศ. 2518  ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518     เป็นกฎหมายหลักในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน กฎหมายฉบับนี้เปลี่ยนหลักการสำคัญ     ที่เดิมเคยยึดคนเป็นหลัก มาเป็นยึดงานเป็นหลัก โดยอาจถือได้ว่า การเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติ    ฉบับนี้เป็นการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลในราชการครั้งสำคัญ ซึ่งสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลง มีที่น่าสนใจ ดังนี้
1)                    ยกเลิกชั้นประจำตัวข้าราชการมาใช้เป็นระบบตำแหน่งตามหลักระบบจำแนกตำแหน่ง
          (Position  Classification)  โดยกำหนดให้มี 11 ระดับ
2)                    กำหนดให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนตามระดับตำแหน่ง
3)                    หลักการให้ข้าราชการประจำมีความเป็นกลางทางการเมือง
4)                    เปลี่ยนหลักการเลือกสรรบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง โดยอาจใช้วิธีการสอบหรือคัดเลือกได้
ตามเหตุผลหรือความจำเป็นของแต่ละตำแหน่ง และยังเปิดโอกาสให้บรรจุคนเข้ารับราชการ ในระดับตำแหน่งสูง ๆ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
5)                    นำหลักการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่งบริหารทุก 4 ปี มาใช้
นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) มีการปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ. และการปรับปรุงระเบียบวินัย และการอุทธรณ์ ตลอดจนมีการสร้างระบบร้องทุกข์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังกำหนด ให้มีการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ตลอดจนยกเลิกข้าราชการวิสามัญอีกด้วย
          กล่าวได้ว่า ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ มีการแยกประเภทข้าราชการใหม่เพิ่มอีก 4ประเภท คือ ข้าราชการเมืองตาม พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการ พ.ศ. 2518 ข้าราชการรัฐสภาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสภา พ.ศ. 2518 ข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติข้าราชการครู พ.ศ.2521 และข้าราชการตำรวจ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521
กระบวนการบริหารงานบุคคล
          กระบวนการบริหารงานบุคคลนั้น เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในหลายขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
          1.  การวางแผนกำลังคน
          2. การกำหนดตำแหน่ง
          3.  การกำหนดค่าตอบแทน
          4.  การสรรหาและคัดเลือก
          5.  การพัฒนาบุคลากร
          6.  การประเมินผลปฏิบัติงาน
          7.  การเลื่อนตำแหน่ง
          8.  การโอน หรือย้าย
          9.  ขวัญและวินัย
          10.  การพ้นจากราชการ ระบบบำเหน็จบำนาญ
องค์การกลางการบริหารงานบุคคล   
                 องค์การกลางบริหารงานบุคคลภาครัฐ (Central  Personnel  Agency)  เป็นกลไกสำคัญในการ   ควบคุมและกำกับดูแลให้การบริหารงานบุคคลภาครัฐเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน แนวความคิดการจัดตั้ง      องค์กรกลางบริหารงานบุคคล เพื่อให้มีความเป็นกลางได้จริง จึงควรเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นกับ ฝ่ายบริหาร หรืออยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารโดยตรง จะได้พ้นจากอิทธิพลของฝ่ายบริหาร    ในบางประเทศโดยเฉพาะที่ยึดรูปแบบการบริหารงานบุคคลในสมัยดั้งเดิมมักจัดองค์กลาง  ในรูปคณะกรรมการ คือ “Civil Service Commission” ซึ่งจะมุ่งเน้นภาระหน้าที่ ในด้านการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการและหน้าที่สำคัญอื่น ๆ ในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ในบางประเทศอาจมีองค์การกลาง บริหารงานบุคคลหลายองค์การ เพื่อแบ่งภาระหน้าที่ ในการดูแลระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐประเภทต่าง ๆ ให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน ภายในข้าราชการที่จัดไว้ในกลุ่มงานเดียวกัน แต่จุดสำคัญของระบบ    บริหารงานบุคคลภาครัฐก็คือ การรวมอำนาจ (Centralized System) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม  และมาตรฐานในการปฏิบัติการ    ต่อบุคคลทุกคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
แต่ก็มีหลายประเทศที่นิยมจัดรูปแบบองค์การกลางบริหารงานบุคคลในลักษณะการ กระจายอำนาจ(DecentralizedSystem)คือมีหลายองค์การกลางบริหารงานบุคคลเพื่อช่วยกันรับผิดชอบ ในกิจกรรมการบริหารงานบุคคล เรื่องต่าง ๆ โดยมักจะคงบางส่วนซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายมาตรฐาน และการพิทักษ์ระบบคุณธรรมไว้เป็นส่วนกลาง แล้วกระจายความรับผิดชอบ ในด้านดำเนินการ บริหารงานบุคคล   เฉพาะเรื่องให้องค์การอื่นมอบให้แก่ส่วนราชการต่าง ๆ รับไปดำเนินการเอง
สำหรับประเทศไทยได้แบ่งแยกองค์การกลางบริหารงานบุคคลออกตามประเภท ข้าราชการ ในรูปแบบของคณะกรรมการข้าราชการประเภทต่าง ๆ โดยแต่ละองค์การกลางต่างมีอิสระ ในการกำหนดนโยบาย กฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สำหรับประเภทข้าราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบ
หน้าที่และบทบาทขององค์การกลางบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปแล้วจะมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
          1.  กำหนดนโยบายด้านการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
          2.  เป็นที่ปรึกษาของฝ่ายบริหารในการดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
          3.  พิทักษ์รักษาระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
          4.  ออกกฎระเบียบ และควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม
          5.  ดำเนินการในบางเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญของกระบวนการบริหารงานบุคคล เช่น การดำเนินการสรรหาบุคคลมาทำงาน การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน เป็นต้น

องค์การกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนของไทยเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันต่างก็มีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหลักการบริหารงานบุคคลของตนเอง ซึ่งต่างก็พยายามจะให้มีอิสระ    และให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ข้าราชการฝ่ายตนมากที่สุด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในหลาย เรื่องในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการของรัฐอีกทั้งยังคงมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง อยู่เป็นประจำดังนั้นแม้จะพยายามจะนำระบบคุณธรรมมาใช้แต่ก็ยังไม่อาจกำจัดระบบอุปถัมภ์ให้พ้นจากวงราชการ ได้อย่างเด็ดขาด


                                       การบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นส่วนราชการ เกิดขึ้นตาม  พ...ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.. 2546  อันเป็นการจัดโครงสร้างขององค์กรในส่วนราชการเขตพื้นที่การศึกษา และถือว่าเป็นหน่วยงานทางการศึกษานส่วนราชการ    ตาม พ...ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ..2547 โดยกฎหมายฉบับหลังได้กำหนดภารกิจการบริหารงานบุคคลให้แก่องค์กรต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ สพท./ผอ.สพท./ และอ....เขตพื้นที่การศึกษา โดยสรุปดังนี้
               1) การวางแผนกำลังคน
                    พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล กำหนดจำนวน อัตรา การเฉลี่ยอัตรากำลังสำหรับ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา 23(1))
               2) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
                    2.1 ....เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการนสอบแข่งขันเพื่อบนนจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  หรือมอบอำนาจให้หน่วยงานทางการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน  (มาตรา 47)
                 2.2 ....เขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาอาจรับสมัครสอบแข่งขันได้เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในสาขาวิชาใดก็ได้ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติพิเศษในสาขาวิชานั้น ๆ ตามที่ ก...กำหนดด้วย (มาตรา 48)
                  2.3 การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ (มาตรา 50)
                  2.4 การบรรจุแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญการ หรือเชี่ยวชาญระดับสูง เข้ารับ ราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยหน่วยงานทางการศึกษาขอความเห็นชอบจาก
....เขตพื้นที่การศึกษา ขออนุมัติจาก ก... เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงค่อยดำเนินการ (มาตร 51)
                   2.5 การบรรจุและแต่งตั้ง บุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเป็นสัญญาจ้างปฏิบัติงานรายปีหรือมีระยะเวลาตามระเบียบกระทรวงการคลังกำหนดหรือเป็นพนักงานราชการ (มาตรา 52)
                   ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (มาตรา 53) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยอนุมัติจาก               อ....เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งตำแหน่งต่อไปนี้ (มาตร 53 (3))
                        1)  รอง ผอ. สถานศึกษา /ผอ. สถานศึกษา               2)  รองผอ.สพท. / ผู้บริหารที่เรียกชื่ออย่างอื่น (. (7))
               3)  ตำแหน่งศึกษานิเทศก์                            4)  ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม (มาตรา 38 (2)
 5)  ตำแหน่งที่มีวิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ
3) การโอน
                 พนักงานส่วนท้องถิ่นมิใช่พนักงานสามัญ ข้าราชการอื่นที่มิใช่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม พ...นี้ และข้าราชการเมือง ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ (มาตรา 53) ตกลงกัน แล้วเสนอให้ อ....เขตพื้นที่การศึกษาอนุมัติ (มาตรา 58)

               4) การย้าย (มาตรา 59)
      1) ย้ายภายในเขตพื้นที่ / ระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องได้รับอนุมัติจากอ....เขตพื้นที่การศึกษาของผู้ประสงค์จะย้ายและรับย้าย แล้วแต่กรณี และให้ ผอ.สพท. / ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งบรรจุและแต่งตั้ง              ต่อไป
                    2) การย้ายผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา ระหว่างราชการ หรือเขตพื้นฐานการศึกษา ให้มีการประสานงานระหว่างเขตฯ เมื่อ อ....เขตพื้นที่การศึกษา ที่จะรับย้ายอนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง         ตามมาตรา 53 สั่งการตามนั้น
                    3) การย้ายข้าราชการพลเรือนไปเป็นข้าราชการครูฯ ต้องได้รับอนุมัติจาก ก...
               5) การรักษาการในตำแหน่ง
                   1) ภายใต้ พ...ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ..2546 ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่างลงหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ผู้มีอำนาจตาม มาตรา 53 สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปรักษาการในตำแหน่งได้
                  2 ) ผู้รักษาการในตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่ตามที่ตำแหน่งที่รักษาการ
               6) การสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการเป็นการชั่วคราว
                   ผอ.สพท. มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใด ไปปฏิบัติราชการเป็นการชั่วคราวในเขตพื้นที่ได้โดยอนุมัติ อ....เขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 69)
    การสั่งประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 70)  ผอ.สพท. มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกเป็นการชั่วคราว โดยพ้นตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก...กำหนด
               7) การบำรุงรักษาและการพัฒนาบุคลากร
                     7.1) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
                             1) ผอ.สพท. ในฐานะผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ในการปรัเมิานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยยึดหลักการปฏิบัติให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพแนะประสิทธิผล (มาตรา 72)
                             2) การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผอ.สพท. ในฐานะผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งกรรมการขึ้นพิจารณา ยึดหลักคุณธรรม เที่ยงธรรม เปิดเผย โปร่งใส โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก ความประพฤติในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ (. 73)
                              หากไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ใดนั้น ผู้บังคับบัญชาต้องแจ้งเหตูผลให้ผู้นั้นทราบ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎ ก... (มาตรา 73)
                              3) ส่วนราชการ / หน่วยงานการศึกษา มีเจ้าหน้าที่สวัสดิการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามความเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ (มาตรา 76)
                               4) การสอบบรรจุผู้สอบแข่งขันได้ (มาตรา 45 ) และการคัดเลือก (มาตรา 50) ก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ ผู้บังคับบัญชาต้องแจ้งภาระงาน มาตรฐานคุณภาพงาน มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ เกณฑ์การประเมินผลงาน ระเบียบแบบแผน หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติราชการ บทบาทหน้าที่ของข้าราชการในฐานะที่เป็นพลเมืองดี (มาตรา 78)
                   5)  ผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และมีหน้าที่พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา (มาตรา 79)
                  7.2) การพัฒนาบุคลากร  ผอ.สพท. ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่
                   1) ให้มีการพัฒนาครู/บุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งและบางวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ที่ ก...กำหนด (มาตรา 80)
                    2) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการพัฒนาโดยการศึกษา อบรม ดูงานปฏิบัติ
การวิจัย ตามที่ ก...กำหนด โดยอาจเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งมีสิทธิได้เลื่อนขั้นเงินเดือน (มาตรา 81)
               8) วินัยและการรักษาวินัย ผอ.สพท. ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ ดังนี้
      - เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัย           - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
                     - ป้องกันผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย
                    - กรณีมูลให้ดำเนินทางวินัยโดยไม่ชักช้า ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 95)
               9) การดำเนินการทางวินัย
                     1) กรณีอันมีมูลว่ากะทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อให้การดำเนินสอบสวน ให้ได้ความจริง และความยุติธรรมโดยไม่ชักช้า (มาตรา 98)
                      2) กรณีที่ถูกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรง ให้ผู้มีอำนาจตาม มาตรา 53 เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และต้องมีกรณีมีมูลกระทำความผิดวินัยร้ายแรงเท่านั้น
                     เว้นแต่  มีการกระทำความผิดร่วมกัน และในจำนวนผู้ถูกกล่าวหา ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ของผู้ถูกกล่าวหาคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้บังคับบัญชาที่มีลำดับสูงกว่าผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหารายอื่น ก็ให้ผู้นั้นเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสแอบสวนผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด
                    3) กรณีความผิดชัดเจน ตามกฎ ก... จะดำเนินการทางวินัย โดยไม่สอบสวนก็ได้ (มาตรา 98 วรรคท้าย)
                    4) กระทำความผิดไม่รายแรง ผู้บังคับบัญชาลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนแล้วแต่กรณี (มาตรา 100)
                    5) ผู้ใดมีกรณีถูกล่าวหา หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติราชการ             บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติงานไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และผู้มีอำนาจตามที่ มาตรา 53 เห็นว่ามีมูล ถ้ารับราชการต่อไปจะเกิดความเสียหายแก่ราชการ อาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า โดยนำมาตรา 98 วรรค 2 วรรค 5 วรรค 7 วรรค 100 วรรค 4 และมาตรา 101 มาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีที่ ก... หรือ อ....เขตพื้นที่การศึกษามีมติให้ผู้นั้นออกราชการ ให้ผู้มีอำนาจสั่งตามนั้น (มาตรา 111)
                    6) ผู้ใดถูกตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง มีเหตุอันควรเชื่ออย่างยิ่งว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยร้ายแรงแต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะสั่งลงโดทษวินัย อย่างร้ายแรงได้ ก...หรือ อ....เขตพื้นที่การศึกษา มีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมอง ผู้มีอำนาจมาตรา 53 สั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญทดแทน (มาตรา 112)
               7)  ผู้ใดได้รับโทษจำคุกโดยคำสั่งศาลหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ผู้มีอำนาจมาตรา 53 อาจสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญทดแทน (มาตรา 113)
               8) ไปราชการทหาร ตามกฎหมายว่าการไปราชการทหารให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (มาตรา 114)
               9) ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามหมวด 8 การออกจากราชการ ( ตั้งแต่ มาตรา 107 - 102 ) ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามหมวดนี้ (มาตรา 115)
           10) การลงโทษ ผอ.สพท. มีอำนาจในการลงโทษ ดังนี้ (ยกเว้นตำแหน่งที่มีวิทนฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ)
                1) กรณีกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผอ.สพท. จะลงโทษสถานใดให้เป็นไปตาม กฎ ก...
                2) กรณีกระทำผิดวินัยร้ายแรง ให้เสนอ อ....เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาและให้ผอ.สพท.มีอำนาจดำเนินสอบสวนต่อไปได้ (มาตรา 100(2))
               3) ผู้ใดกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไปแล้ว ยกเว้นออกจากราชการเพราะตาย ผอ.สพท.มีอำนาจดำเนินการสอบสวนต่อไปได้ (มาตรา 102)
               4) ผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผอ.สพท.มีอำนาจสั่งพักราชการได้ (มาตรา 103)
           11) การรายงานการดำเนินการทางวินัย (มาตรา 104)
                1) กรณีกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ตั้งแต่ ผอ.สพท. ลงมา  รายงานไปยัง ผอ.สพท. ถ้า ผอ.สพท. เห็นว่าการดำเนินการไม่ถูกต้องเหมาะสม ก็ให้ดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสมควรแก่กรณี ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยร้ายแรงให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้
                2) กรณีกระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตั้งแต่ ผอ.สพท. ลงมา รายงานไปยัง ผอ.สพท. และ อ....เขตพื้นที่การศึกษาต่อไป เมื่อ อ....เขตพื้นที่การศึกษามีมติประการใดก็ให้ ผอ.สพท. สั่งการไปตามนั้น(มาตรา 105)
           12) การออกจากราชการ
               1) อนุญาตหรือยับยั้งการลาออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(มาตรา 108)
               2) สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากข้าราชการ กรณีถูกสั่งเพิกถอนในอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งอื่นในหน่วยงานทางการศึกษา ภายใน 30 วัน (มาตรา 109)
           13) การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
               1) สั่งหรือปฏิบัติตามมติ อ....เขตพื้นที่การศึกษาหรือ ก... กรณีอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ (มาตรา 124)
               2) ดำเนินการแก้ไขคำสั่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง (มาตรา 125)
                                                  

                                                   การบริหารบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

               ภายใต้หลักการการกระจายอำนาจดังปรากฏในมาตรา 9 (2) และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2545 ประกอบกับมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ..2546 มาตรากำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยกำหนดกรอบภารกิจของสถานศึกษา 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริการทั่วไป          
              ในส่วนของการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา                                   มีขอบข่ายและภารกิจที่สำคัญดังนี้
1) การวงแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง
                  สถานศึกษาเสนอความต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อเสนอ อ....เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา (มาตร 26 (2))
               2 ) การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง
                   2.1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วยตำแหน่งครูและตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 (2)  ในสถานศึกษา โดยอนุมัติของ อ....เขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 53 (4))
                   2.2) สั่งให้ข้าราชการครูหรือบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในกรณีที่เห็นว่ามีความประพฤติที่ไม่ดีหรือไม่มีความรู้หรือไม่มีความเหมาะสมหรือมีผลการประเมินการทดลองปฏิบัติหน้าที่หรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก...กำหนด (มาตรา 56 วรรค 2) หรือให้รับราชการต่อไป
                  2.3) รับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นคืนหรือข้าราชการอื่นที่มิใช่ขั้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยการอนุมัติของ อ....เขตพื้นที่การศึกษา( มาตรา 58)
                  2.4)  บรรจุและแต่งตั้งโดยการรับย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานราชการศึกษาอื่นภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษาโดยอนุมัติของ อ....เขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 58)
                   2.5) สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีขอกลับเข้ารับราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก... กำหนด (มาตรา 64 มาตรา 65 มาตรา 66)
                   2.6) การบรรจุและแต่งตั้งลูกจ้างประจำ (คำสั่ง สพฐ. ที่ 8/2546 ลงวันที่ 7 ..2546)
                   2.7) การสั่งจ้างลูกจ้างชั่วคราว (คำสั่ง สพฐ. ที่ 29/2546 ลงวันที่ 8 .. 2546)
3) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
                   3.1) ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก... และ อ....เขตพื้นที่การศึกษากำหนด (มาตรา 27(1))
                   3.2) พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา27(2))
                   3.3) ส่งเสริมสนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง(มาตรา 27(3))
                3.4) จัดทำมาตรฐาน ภาระสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา 27(4))
                3.5) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสนอ                  อ.... (มาตรา 27(5))
                3.6) สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการของ ก...แล้ว (มาตรา 73 วรรคท้าย)
               3.7) ยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีผลงานดีเด่น (มาตรา 75)
                3.8) จัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามความเหมาะสม กับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ (มาตรา 76)
               3.9) แจ้งภาระงาน มาตรฐานคุณภาพงาน มาตรฐานวิชาชีพ จรรณยาบรรณวิชาชีพ เกณฑ์การปฏิบัติผลงาน ระเบียบแบบแผน หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติราชการ บทบาทหน้าที่ให้ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งทราบ (มาตรา 78)
               3.10) ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง (มาตรา 79)
               3.11) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา (มาตรา 81)
               4) วินัยและการรักษาวินัย
                  4.1) รักษาวินัยและสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น (มาตรา 82-94)
                  4.2) เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย (มาตรา 95)
                  4.3) ดำเนินการทางวินัย ตามควรแกกรณี (มาตรา 98)
                  4.4) สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎ ก... (มาตรา 110(4))
                  4.5) การดำเนินการทางวินัย ลูกจ้างประจำ (คำสั่ง สพฐ. 8/2546 ลงวันที่ 7.. 2546)
               5) การออกจากราชการ
                   5.1) สั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือขาดคุณสมบัติตามมาตรฐานตำแหน่งออกจากราชการ (มาตรา 49)
                   5.2) พิจารณาหรือยับยั้งกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขอลาออกจากราชการ (มาตรา 108)
                  5.3) สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทางการศึกษาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ (มาตรา 110(1),(2),(3),(5),(6))
                    5.4) สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทางการศึกษาออกจากราชการโดยมติของ ก... หรือ อ.... เขตพื้นที่การศึกษา กรณีหย่อนความสามารถ (มาตรา 111)
                    5.5) สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทางการศึกษาออกจากราชการ กรณีต้องรับโทษจำคุกตามคำสั่งศาล หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (มาตรา 113)
                     5.6) การออกจากราชการลูกจ้างประจำ (คำสั่ง สพฐ. 8/2546 ลงวันที่ 7.. 2546)
                     5.7) การเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราว (คำสั่ง สพฐ. 29/2546 ลงวันที่ 8 ..2546)


สรุปคำสั่งมอบอำนาจให้  ผอ.สถานศึกษาและ ผอ.สพท.(เกี่ยวข้องกับงานบุคคล)

เลขที่คำสั่ง
สั่งวันที่
มอบอำนาจให้
เนื้อหา

7 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-การอนุมัติไปราชการในราชอาณาจักร

7 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-บรรจุแต่งตั้ง ดำเนินการทางวินัย ออกจากราชการของลูกจ้างประจำ

7 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-การบังคับบัญชาลูกจ้างประจำ

8 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-การสั่งจ้างเลิกจ้าง อนุญาตลา ของลูกจ้างชั่วคราว

8 ..2546
ผอ.สพท.,ผบ.สถานศึกษา
-การอนุมัติไปราชการของบุคลากรของศูนย์     และ รร. การศึกษาพิเศษ

8 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-การสั่งจ้างเลิกจ้าง อนุญาตลาของลูกจ้างชั่วคราว ด้วยเงินนอกงบฯ

30 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-การจัดฝึกอบรม

15 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-อนุมัติจ่ายเงินรางวัลกรรมการสอบแข่งขันสอบคัดเลือกข้าราชการ

327/2546
15 ..2546
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-อนุมัติให้ข้าราชการและลูกจ้างปฏิบัติราชการนอกเวลา
22 ..2546
ผอ.สพท.,ผบ.สถานศึกษา
-การออกหนังสือรับรองสำหรับข้าราชการ             และลูกจ้าง
13 ..2547
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-การอนุญาตลาไปศึกษา ฝึกอบรมดูงาน ปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศ
16 ..2547
ผอ.สพท.,ผอ.สถานศึกษา
-แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น          ทางละเมิด




สมัครติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา 4 ภาค 29 จุด ปี 2557-2558 ได้ที่

"ติวสอบดอทคอม"  www.tuewsob.com  หรือ คลิ๊กที่ภาพด้านล่างครับ

 ติวสอบดอทคอม


สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
เน็ตช้า เข้าที่ http://tuewsob.blogspot.com/
เน็ตแรง เข้าที่ http://www.tuewsob.com/

"ติวสอบดอทคอม" เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ สอบราชการ-ครู-ผู้บริหาร ฯ

ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com โดย ผอ.นิกร เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา

ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ บน ยูทูป
ติวสอบ บน ยูทูป

ติวสอบ ฟรี บน ยูทูป

ติวสอบดอทคอม (เว็บติวสอบครู ผู้บริหาร บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์ เตรียมสอบครู ผู้บริหาร บุคลากรการศึกษาwww.tuewsob.com

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

กลับหน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม